LAIS ศูนย์วางแผนเรียนต่อต่างประเทศ ซัมเมอร์แคมป์ อังกฤษ อเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคนาดา เยอรมัน ทุกระดับชั้นเรียน

จริง ๆ การสมัครด้วยตัวเองหรือจะผ่านการบริการจากตัวแทน ก็ไม่ได้มีผลต่อการตัดสินใจของมหาวิทยาลัยแต่อย่างใด หรือ ได้เปรียบ เสียเปรียบอะไรไปมากกว่ากัน  ค่าเทอมก็ไม่ได้คิดมากกว่าหรือน้อยกว่าแต่อย่างใด ก็จ่ายตามจริงตามที่มหาลัยกำหนด

The Untold Story

 

จริง ๆ แล้วนักเรียนก็เลือกที่จะสมัครตรงไปที่มหาลัยเองได้ครับ แต่ก็จะเหมาะกับนักเรียนมีความรู้เรื่องการทำวีซ่าพร้อมแล้ว หรืออาจจะแนวแน่ในการสมัครโรงเรียนเดียว มหาวิทยาลัยเดียว และถ้าผ่านคุณสมบัติแบบทั้งหมด ก็ไม่จำเป็นต้องเลือกตัวแทนช่วยได้ครับ

 

หรือถ้าคนที่เลือกใช้ เลือกใช้บริการตัวแทน หรือ Representative ส่วนใหญ่จะมองในเรื่องของการบริหารทรัพยากรเวลา  ประโยชน์ที่มองเห็นชัดก็ในเรื่องอำนวยความสะดวกเสียมากกว่า  ซึ่งก็จะอธิบายให้ฟังในแง่หลักการที่อาจจะไม่ค่อยมีตัวแทนบอกนัก แต่ทางเดอะไลอ้อนจะอธิบายและวิเคราะห์ไปที่ละมุมมองเพื่อช่วยให้นักเรียนมีไอเดียมากขึ้น คำถามนี้นักเรียนหลาย ๆ คนมีความเห็นหลากหลาย ซึ่งอาจจะเป็นกลุ่มในนักเรียนโตแล้ว หรือระดับปริญญาโทขึ้นไป มักมีคำถามนี้บ่อย ในการเลือกที่จะสมัครเอง หรือ ผ่านตัวแทนเป็นต้น ในที่นี่จะขอยกตัวอย่างในเรื่องโครงสร้างของประเทศอังกฤษ ออสเตรเลีย และ อเมริกา เป็นหลักก่อนละกันนะครับ

 

รู้หน้าที่ของตัวแทน (Representative) กันก่อนนะครับ 

 

     1. Application assistance

อย่างแรกเลย อันนี้คือบทบาทต้น ๆ เริ่มแรกต้องเข้าใจก่อนว่า หน้าที่หลัก ๆ ของตัวแทนในการศึกษานั้นจะเอื้ออำนวยความสะดวกในการช่วยเรื่องใบสมัครนั้นเอง การกรอกใบสมัครให้ ยิ่งหากบางคนสมัครหลายยู หลายโรงเรียน การนั่งกรอกเอง เช่น สมัครสัก 7 มหาวิทยาลัยก็กินเวลาไปครึ่ง ๆวันแล้วครับ ยิ่งหากบางคนต้องทำงานด้วย ก็จะใช้เวลา คือจริง ๆ ก็ไม่ได้ยากในการกรอกข้อมูลเนื่องจากเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับเราเอง แต่ในแง่ของทรัพยากรเวลาก็อาจจะเปลื้องสักนิดครับ  และนอกจากนั้นหน้าที่เรื่องการให้ข้อมูล  การให้ข้อมูลเกี่ยวกับคอร์สต่าง ๆ ที่ไปเรียนจากประสบการณ์ที่ดูแลนักเรียนมาหลาย ๆ รุ่น หรือในการอยู่ประเทศนั้น ๆ ก็นำข้อมูลมาแบ่งปัน พูดคุยมุมมองหลาย ๆ ด้านซึ่งนักเรียนก็จะได้ประโยชน์ไปไม่มากก็น้อย  และข้อมูลคอร์สที่อัพเดทต่าง ๆ ตัวแทนมักจะได้ข้อมูลด้านนี้ก่อนเป็นอันดับต้น ๆ  ไม่ว่าจะเป็น เดดไลน์ในการสมัคร  ซึ่งโปรแกรมแต่ละโปรแกรมนั้นบางที่ปิดรับต่าง ๆ กัน ตัวแทนก็จะทราบข้อมูลนี้เป็นการภายในก่อนจากเมล์ที่มหาวิทยาลัยสื่อสารตรงมา หรือการอัพเดทสถานะใบสมัครต่าง ๆ เช่น เอกสารขาดตกหล่น ก็จะได้รับการแจ้งมาเพื่อติดตามเอกสารต่าง ๆ ได้

 

     2. Convenience

ในแง่หลาย ๆ ประการบางคนอาจจะไม่ได้ทราบ แต่ถ้าคนในวงการศึกษาจะทราบดี ก็จะเป็นเรื่องการติดต่อสื่อสาร ซึ่งตัวแทนจะทราบบุคคลภายใน ในสาขานั้น ๆ ว่าติดตามใบสมัครนี้ได้อย่างไร ในกรณีเกิดการล่าช้า หรือต้องการการช่วยเหลือเป็นพิเศษ ตัวแทนก็จะช่วยประสานงานติดต่อ มหาวิทยาลัยมีหลากหลายคณะ การทำงานแต่ละคนจริง ๆ ไม่เหมือนกัน ดังนั้นหากรู้บุคคลที่เกี่ยวข้องนั้น ๆ ก็จะทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นไป แต่ถ้าบางคนไม่ได้เจอภาวะนี้ก็อาจจะไม่ได้รู้สึกต่างกันอะไรเท่าไหร่  จริง ๆ เรื่องนี้เป็นตัวแปลสำคัญอยู่ไม่ใช่น้อย จากประสบการณ์ บางที่เจ้าหน้าที่ใจดีมาก เคสอาจจะล่าช้า หรือตกหล่อน ซึ่งบางคนถึงขนาดไปตามใบสมัครแบบปริ้นแล้วถือไปหา admission ให้เลยเพื่อให้ออกใบตอบรับให้ทันเดดไลน์ นี้ก็ถือว่าพลิกไพ่ได้ไม่ใช่น้อย ถ้าเราไม่เจอเหตุการณ์เช่นนี้ เราอาจจะไม่ได้รู้สึกมีอุปสรรคใด แต่ทุกปีมีอยู่ตลอดครับ กับเหตุการณ์ไม่คาดคิด  เนื่องจากระบบบางประเทศอย่างอังกฤษ เป็นการตอบรับแบบ First come , first served.  ขณะที่อมริกาอาจจะเป็นแบบระบบเอามากอง ๆ รวมกันแล้วตัดสินแบบคัดออก เจอทุกคนก่อนแล้วค่อยคัดประมาณนั้น การสมัครผ่านตัวแทนก็เปรียบเสมือนในเรื่องการบริหารทรัพยากรเวลา ถ้าตัวแทนนั้นไม่ได้คิดค่าบริการใด ๆ ก็ยิ่งเป็นประโยชน์ต่อนักเรียน ยกตัวอย่าง บางคนมีหน้าที่การทำงานที่ยุ่งเหยิง เช่นนักเรียนอาจจะเรียนหมอปีสุดท้าย ฝึกงาน ไหนจะดูแลคนไข้ วันหนึ่งก็อาจจะหมดแล้ว ไม่ใช่ว่านักเรียนทำไม่ได้นะครับ การสมัครเรียนไม่ได้ยาก แต่เป็นเรื่องการบริหารทรัพยากรเวลาได้ระดับหนึ่ง  หรือบางคนสมัครหลาย ๆ ที่พร้อมกัน ก็ถ้าทำเองอาจจะเสียเวลาอยู่บ้าง แต่ถ้าผ่านตัวแทนไปก็เป็นหน้าที่ของเค้าในการไล่สมัครตามยูที่เราต้องการได้ครับ ก็มองไปในแง่เวลาอีกเหมือนกันนั้นเอง ก็เหมือนการโยนงานให้คนที่เค้าถนัดทำไป ดังนั้นก็อาจจะได้เรื่องของ  สปีดตามมาอีกทอดนั้นเอง

 

     3. Communication

เรื่องนี้ผู้เขียนก็ว่าสำคัญไม่น้อย ตัวแทนก็จะช่วยเรื่องการติดต่อสื่อสารให้โดยเฉพาะสมมุตว่าไปเรียนภาษาคอร์สระยะสั้น อันนี้จะเห็นได้ชัดเจน ก็ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษ อธิบายกันไปมาทางเมล์ ก็ยุ่งยากพอสมควรสำหรับนักเรียนที่ยังภาษาไม่แน่นพอ ก็ย่นเวลาในการติดต่อสื่อสารไปได้ หรือการตรวจสอบราคาที่โรงเรียนส่งมาให้ เช่น ใบชำระค่าเรียน ค่าหอ ก็จะบอกว่ามนุษย์เรายังไงก็มีครับเรื่องการผิดพลาดต่าง ๆ หากนักเรียนมีผู้ช่วยตรวจสอบจากตัวแทน ผู้เขียนว่ามันก็ช่วยกรองด้านความถูกต้องไปได้เยอะครับ พูดกันเรื่องตรงไปตรงมาธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัย โรงเรียนภาษา เจ้าหน้าที่ก็มีหลายคนหลายแผนก คนทำงาน บางที่ก็พลาดได้ ซึ่งก็เข้าใจได้ หรือตัวแทนก็อาจจะมีผิดก็ได้ ก็พูดกันอย่างแฟร์ ๆ ดังนั้นตัวแทนก็ช่วยเกลาข้อมูล เป็นหูเป็นตากันได้ครับ เพราะว่าเป็นการรักษาผลประโยชน์ด้วยกันทุกฝ่ายพร้อม ๆ กัน คือช่วยกันนั่นเอง

 

หรือสำหรับในระดับมัธยม ผู้เขียนว่า การมีผู้ช่วยตัวแทนนี้ บรรยายกันไปได้ไปอีกหน้า ๆ ได้เลยครับ เพราะว่าเอกสารการดูแลนั้นเยอะกว่าระดับอื่นๆ เป็นอย่างมาก


สำหรับระดับมหาวิทยาลัย ถ้านักเรียนคนนั้นไม่ได้มีอุปสรรคทางภาษา และเวลาไม่ได้เป็นปัญหาในการจัดการ หรือมหาวิทยาลัยนั้นไม่ได้มีตัวแทนด้วยข้อจำกัด อันนี้ก็สมัครเองตามนโยบายของแต่ลมหาลัยไป แต่ถ้ามหาลัยไหนมีตัวแทน การยื่นกับตัวแทน ไม่ว่าจะที่ไหนผู้เขียนว่าก็ยังได้ประโยชน์ในแง่ของด้านการสื่อสาร หรือรู้ภายในว่าจะติดต่อเรื่องนี้ได้กับใคร ยกตัวอย่าง หลาย ๆ มหาลัยก็มีระบบ chat bot  แต่ผู้เขียนก็ยังชอบปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์คนทำงานอยู่ดีครับ หรืออันนี้เห็นชัด บางที่อีเมล์ไป อาจจะไม่ได้คำตอบที่แบบเข้าใจเลย เจ้าหน้าที่ส่วนกลาง ก็อาจจะตอบแบบกลางๆ กว้างๆ บางทีก็ไม่ได้คำตอบที่ตรงมาเลย หรือ ปะลิงค์มาให้อ่านกันยาว ๆ ถ้านักเรียนไม่ได้แบบติดขัด ก็นั่งอ่านหางมกันไปอีกละครับ ซึ่งเอาจริง ๆ เราก็อยากเห็นคำตอบว่าเป็นอะไรชัดเจน มากว่าปะลิงค์ ไล่ไปอ่านกันเป็นสิบ ๆ หน้าเป็นต้นหรือป่าวครับ เรียกว่า งม หากันอีกต่อ ไม่รู้ที่เข้าใจนั้นผิดถูกหรือไม่ คือที่บอกเพราะผู้เขียนก็พอ ๆ มีประสบการณ์มาแบ่งปัน แบบเรียล ๆ ละกันนะ ตอบไม่ตรงคำถาม กว่าจะได้คำตอบก็รอผ่านไปแต่ละแผนกกันไป ซึ่งถ้าข้อมูลพวกนี้ตัวแทนได้รับมาก่อนแล้ว  ก็ทำให้การสื่อสารในเรื่องเฉพาะนั้น ๆ กับนักเรียนมันไวตามมานั้นเองครับ

 

     4. No service charge

นักเรียนหลายคนลืมไปว่าการใช้บริการตัวแทนส่วนใหญ่ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ครับ (แต่บางที่คิดนะครับก็ตรวจสอบดู) ที่ตัวแทนไม่ได้คิดก็เพราะว่าตัวแทนได้ค่าตอบแทนจากมหาลัยนั้น ๆ แล้ว ดังนั้นในเมื่อนักเรียนไม่ต้องเสียค่าบริการใด ๆ ก็ถือว่าเป็นประโยชน์ในแง่ดังกล่าวข้างบนไป ยกเว้นเสียแต่ว่าถ้าบางที่คิด ก็ต้องไปดูว่าคิดค่าอะไร การคิดเงินบริการไม่ได้หมายถึงการการันตีเข้ามหาลัยนะครับ  บางบริษัทคิด แต่บางบริษัทไม่คิด ถามว่าจำเป็นต้องจ่ายมั้ย ส่วนตัวก็ต้องไปดูว่าที่บริษัทคิดนั้นเป็นค่าอะไร บางบริษัทคิดเป็นค่าดำเนินการ ถามว่าทำไมบางที่คิด

 

ก็อาจจะเป็นไปได้ว่าเค้ามีบริการเพิ่มให้ หรือบางที่ก็อาจจะกันนักเรียนไว้  ซึ่งสำหรับเราก็เข้าใจนะครับ ตัวอย่าง นักเรียนให้เค้าทำงานหลายอย่างๆ ให้ ตั้งแต่การหาคอร์ส หาข้อมูล สรุปสุดท้ายอาจจะสมัครเองไป ซึ่งตัวแทนก็ทำงานเสียเวลาไป หรือไปใช้บริการที่อื่น อันนี้หมายถึงว่าไม่ได้มีปัญหาด้านการบริการกันนะครับ พูดถึงทั่ว ๆ ไป ดังนั้น ถ้ามองอกเค้าอกเรา บางคนทุ่มเทแรงกาย แรงเวลาไปครึ่งทางกัน  ก็เป็นไปได้ที่เค้าจะคิดค่าบริการไว้ก่อนเลยเป็นต้น อาจจะเป็นนโยบายของบริษัทนั้น ๆ  จริง ๆ แบบไม่มีค่าบริการก็ยังดีกว่า อย่างน้อยมองบวก ถ้าไม่ได้เสียทรัพย์ นักเรียนเองก็ได้ประโยชน์ในแง่ว่าไม่ได้เสียอะไรเพิ่ม

 

หรือ จะเสียเงินก็พิจารณาดูบริการเสริมนั้นคลอบคลุมสิ่งที่เราต้องการหรือไม่อย่างไร เราอาจจะต้องการบริการพิเศษ แบบ Exclusive หรือไม่ เป็นต้น ตัวอย่างที่น่าสนใจ ในบางมหาวิทยาลัยไม่ได้มีตัวแทน เพราะว่ามหาลัยนั้น ๆ ก็อาจจะมีชื่อเสียงในตัว และจำนวนใบสมัครก็แย่งกันอยู่แล้วและจำกัด เช่น ชื่อดังอย่างในอังกฤษ แคมบริดจ์ อ๊อกฟอร์ด ยูซีแอล แอลเอสอี  อิมพีเรียล กลุ่มพวกนี้ก็คัดนักเรียนเกรดแรง ๆ หนัก ๆ เข้า   กลุ่มนี้ก็ไม่ได้มีตัวแทนเพราะว่าเค้าไม่ต้องมาจ่ายค่าการตลาดต่าง ๆ ให้ตัวแทนเนื่องจากเป็นยูที่รับจำกัดอยู่แล้ว และมีมาเป็นร้อย ๆ ปี ไม่ต้องมีตัวแทนก็รับแทบไม่ไหว ดังนั้นความจำเป็นในการจ้างตัวแทนต่างประเทศก็อาจจะไม่จำเป็นหรอกครับ  ดังนั้นในบางบริษัทก็อาจจะตั้งค่าบริการไว้ว่าถ้าสมัครกลุ่มยูพวกนี้ก็คิดค่าบริการไป เพราะว่าตัวแทนเองก็ไม่ได้ค่าการตลาดจากมหาวิทยาลัยก็จำเป็นต้องคิดค่าบริการกับนักเรียนแยกต่างหาก ซึ่งก็พูดกันตรง ๆ นะครับก็ไม่แปลก ในแง่การทำงาน แต่เป็นทางเลือกของนักเรียนเอง แต่ว่า ถ้าคุณสมบัติตรงกำหนด หรือเกรดถึงยังไงมหาลัยก็รับครับ ไม่ต้องไปเสียเงิน ถ้าค่าบริการไม่แพงโหดเกินไป หรืออยากได้บริการในแง่ความสะดวกหรือการมีกุนซือก็เป็นอีกเหตุผล

 

     5. Waived application fee

อันนี้ในฝั่งของออสเตรเลียจะเห็นชัดเจน เนื่องจากระบบในออสเตรเลียนั้นต้องยกย่องเลยว่า มหาวิทยาลัยนั้นให้เครดิตกับตัวแทนการศึกษาในต่างประเทศมาก ๆ จะสังเกตได้ว่า ในเว็ปไซต์เค้าจะให้ติดต่อตัวแทนโดยตรงเลย เค้าสื่อสารรอบเดียวกับตัวแทน และไม่ค่อยมาอธิบายปลีกย่อย ๆ หลาย อยากรู้อะไรไปถามตัวแทนเอาเน้อ ประมาณนั้นครับ แต่ประโยชน์ที่นักเรียนได้รับโดยตรงก็เห็นจะเป็นเรื่องเงิน ๆ ทองๆ เนี่ยแหละครับ  คือมหาวิทยาลัยในออสเตรเลียจะมีค่าใบสมัคร เช่น 100 เหรียญเป็นต้น ถ้าสมัครตรงก็เสียปกติ แต่ถ้าผ่านตัวแทนจะมีโปรโมชั่นเวฟค่าใบสมัครนี้ด้วยครับ เค้าจะให้รหัสตัวแทนมาในการใส่ไปในใบสมัคร สมมุตสมัครหว่านสักห้าที่ คิดเป็นเงินเท่าไหร่ไปแล้วครับ อันนี้ประโยชน์นี้เห็นชัดเจนเลย ก็ถือว่าเป็นการทำงานที่ได้ประโยชน์ทั้งสองฝั่ง ไม่ว่าจะนักเรียนเอง ตัวแทนและมหาลัยด้วยครับ สำหรับคนทำงานในแง่ของการให้เกียรติตัวแทนทำงานแทนมหาวิทยาลัย ถือว่าคะแนนนี้เต็ม มองแง่หลักการทำงานก็ถือม้วนเดียวจบทีเดียว

 

     6. Visa assistance

และที่ปัจจัยสำคัญคือการดูแลช่วยเหลือวีซ่า ยิ่งประเทศอังกฤษ หรือออสเตรเลียด้วยแล้ว กฎหมายด้านวีซ่ามีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ก็จะช่วยลดการปฏิเสธวีซ่าได้ หรือ ง่าย ๆ ก็คือความสะดวกในแง่เอกสาร ตัวแทนจะดูแลเรื่องวีซ่าของนักเรียนในขั้นตอนสุดท้าย ถ้าที่ไหนคิดเงินพิเศษก็เป็นการพิจารณาจากนักเรียนในการเลือกตัวแทนเอานะครับ แต่ส่วนใหญ่บริการนี้ไม่ได้เสียเงินอะไรเพิ่มเติมครับ ถือว่าเป็นบริการฟรีในแง่อำนวยความสะดวกส่วนหนึ่งให้กับนักเรียน และว่าไปแล้วก็ถือว่าเป็นหน้าที่หลัก ๆเลยทีเดียวหลังทำเอกสารด้านการเรียนให้เสร็จเรียบร้อย

 

ถ้าเป็นออสเตรเลียนิวซีแลนด์ นักเรียนภาษาต้องมีเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ อย่างน้อยก็ตัวแทนก็ยังสามารถช่วยให้คำแนะนำในการเขียน และเนื้อหาให้เหมาะกับที่สถานทูตตั้งกติกาไว้ด้วยครับ หรือ

 

การสัมภาษณ์สำหรับสถานทูตอเมริกา จริงอยู่ตัวแทนมหาลัยหรือโรงเรียนภาษาไม่มีอำนาจในการตัดสินเรื่องวีซ่านะครับ การช่วยเหลือก็เป็นในแง่เอื้ออำนวยความสะดวกให้ และแบ่งปันข้อมูลที่แท้จริงเพื่อให้นักเรียนได้เตรียมตัวสัมภาษณ์อย่างมีประสิทธิภาพ การเตรียมตัวที่ดีทำการบ้านและซ้อมก่อน อันนี้ชัดเจนในแง่ของประสิทธิภาพและคุณภาพในการเตรียมเอกสารและตอบคำถามในการสัมภาษณ์  แต่อย่าลืมว่าตัวแทนต้องไม่การันตีเรื่องนี้นะครับ ถ้าไปเห็นใครลงโฆษณาแบบการันตีวีซ่า อะ ๆ อันนี้ฉุกคิดไว้ก่อนว่ากลิ่นไม่ค่อยดี อย่าไปลงเชื่อคำพูดพวกการันตีวีซ่าเด็ดขาด จะได้ไม่ถูกหลอกเสียเงินเสียทองเรื่องแบบนี้นะคับ  การที่ตัวแทนของสถาบันการเรียนดูแลเรื่องวีซ่าก็เปรียบเหมือนเรามีโค้ชนักกีฬาที่ที่ให้คำแนะนำก่อนลงสนามต้องเจออะไร รู้เค้ารู้เรารู้เชิง ยังไงก็ดีกว่าไม่รู้ครับ อย่างน้อยตัวแทนก็มีประสบการณ์แชร์มาเล่าให้เป็นประโยชน์เคสนี้ทำไมไม่ได้และได้เพราะอะไร เหมือนที่บอกว่ามีแต่ได้ไม่ก็เสมอตัวครับ

 

     7. Strong relationship

 ผู้เขียนว่าส่วนนี้ก็เป็นไปในแง่จิตวิทยา ตัวผู้เขียนรู้สึกดี ๆกับ human interaction การที่มนุษย์ยังปฏิสัมพันธ์ มีการสอบถามพูดคุยกัน การให้คำปรึกษา แลกเปลี่ยนประสบการณ์ หรือข้อมูล หลาย ๆ ครั้งข้อมูลความรู้ใหม่ ๆ ตัวแทนการศึกษาก็ยังได้จากนักเรียนและผู้ปกครองนะครับ ไม่ใช่แค่ว่าฝ่ายตัวแทนจะให้ข้อมูลอย่างเดียว หลายเคสข้อมูลที่ดีนั้นลูกค้าเป็นผู้ให้ก็มีเยอะแยะมาก ๆ  นั่นหมายถึงเกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน ยิ่งด้วยระยะเวลาในการทำเรื่องการเรียนไม่ได้จบแค่วันสองวัน สำหรับเคสนักเรียนปริญญาโท รู้จักกันเป็นครึ่ง ๆ ปี หรือหนึ่งปีกว่าจะจบเคส ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น เหมือนญาติสนิทกันไปเลยก็มี การช่วยเหลือกัน การอยู่เคียงข้างกันไปเวลาสอบถามแล้วเกิดการบรรลุผลอันดี ผู้เขียนว่าแง่นี้ดีมากครับ อันนี้ก็แล้วแต่เคส ๆ ไปนะครับ แต่อย่างน้อย ๆ การมีเพื่อนๆ มีคนในการแนะนำข้อมูล อัพเดทสถานการณ์ก็เป็นประโยชน์ อย่างน้อยในเรื่อง mental จิตใจก็ได้มากนะครับ  หรือหากเป็นนักเรียนระดับเล็ก จะบอกว่าปัญหาเรื่องการสื่อสารอันนี้เยอะกว่าปกติ การประสานงานที่มีตัวแทนตัวกลางช่วย ก็ต้องบอกว่ามันก็เอื้ออำนวยความสะดวกให้ผู้ปกครองได้อย่างค่อนข้างมาก แง่บวกก็ได้ความสะดวกสบาย บริหารทรัพยากรเวลา สร้างคอนเนคชันได้มิตรภาพดีที่ ถ้าพูดภาษาง่าย ๆ บวกหรือเสมอตัวครับ

    

     8. ความนิยมแต่งตั้งตัวแทนดำเนินการแทน ในต่างประเทศ

จริง ๆ ในสังคมต่างประเทศก็มักจะจ้างหรือแต่งตั้งหน้าที่ให้ตัวแทน ส่วนใหญ่ก็จะไม่ค่อยปรากฎตัวเองในการติดต่อหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นราขการ องค์กรเอกชน เห็นได้ชัดตามบริการต่าง ๆ เอกสารต่าง ๆ  พูดง่าย ๆ ก็มีตัวแทนทำให้ ไม่ได้หมายความว่าทำไม่ได้นะครับ คือเหมือนค่านิยมคนที่จะให้คนที่เชี่ยวชาญด้านนั้น ๆทำไป ลดเวลาและการติดต่อที่ต้องไปทำเอง

 

ระบบในอังกฤษเว๊ปของทางราชการ ก็จะมี Instructions มีฟอร์มให้ดาวน์โหลดชัดเจนมาก สามารถทำเองได้เช่นกัน แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยเช่น ทำเรื่องภาษี ขอ pension ถามว่าในรายละเอียด กรอกเองได้ไม่  ได้ แต่ส่วนใหญ่มักให้ตัวแทนด้านทนายความหรือบัญชี ไปยื่นเรื่องให้ จ่ายค่าบริการไป แต่ไม่ต้องเสียเวลา กรอกเอกสาร หรือต้องไปยื่นทำเอง คนจำนวนมากโยนงานด้านนี้ให้ตัวแทนด้านนั้น ๆ ทำ ก็เยอะพอสมควรครับ คนที่นู้นจะบอกติดปากว่า “มีอะไรติดต่อ representative ผมเอาครับ”   หรือเห็นชัด ๆ ใกล้ตัว การหาบ้านเช่า หรือการซื้อขายบ้าน อันนี้ก็จะมีการติดต่อบ้านผ่าน Estate agent เจ้าของบ้านจะไม่ค่อยคุยกับลูกค้าตรง ๆ เท่าไหร่ ง่าย ๆ จะตอบคำถามหลาย ๆ คน คนที่นู้นไม่ค่อยมีนิสัยนั่งตอบคำถามซ้ำ ๆ ก็โยนงานให้ตัวแทน จะดิวก็เหลือวาระเรื่องสำคัญแบบท้าย ๆ จะปิดดิวเป็นต้น  มีอะไรให้เอเจนซี่ส่งข้อมูลมา ติดต่อกลับไป หรือ ดำเนินการแทน เป็นต้น จึงไม่แปลกเอกสารราชการ จะมีช่องว่างให้เติมว่า คุณกรอกเอกสารเองหรือ ตัวแทน ถ้าเป็นตัวแทน ให้ระบุรายละเอียด เช่น ชื่อ ที่อยู่ อีเมล์ เบอร์ เป็นต้น

 

ก็หวังว่า 8 ข้อความแตกต่างจะช่วยสร้างความเข้าใจระหว่างนักเรียนผู้ปกครองและตัวแทนการศึกษาต่าง ๆ นะครับ โดยแนวคิดนี้หวังว่าจะช่วยให้เลือกและใช้วิจารณาณในการเลือกสถานที่ให้บริการทางการศึกษาให้เหมาะสมกับผู้เรียนครับ