LAIS ศูนย์วางแผนเรียนต่อต่างประเทศ ซัมเมอร์แคมป์ อังกฤษ อเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคนาดา เยอรมัน ทุกระดับชั้นเรียน

Header2

 

Why The Lion Academy?

Because we are

Experience  ประสบการณ์ คือหนึ่งในความรู้ที่เยี่ยมยอด นักเรียนจะได้รับข้อมูลจากประสบการณ์ตรงของทีมงานที่พร้อมจะถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์สูงสุด
Dynamic ทีมงานของเรามีความกระตือรือร้นในการทำงานสูงช่วยให้นักเรียนได้รับข้อมูลที่เที่ยงตรงและฉับไว
Utmost    ทีมงานของเราเลือกสิ่งที่ตรงกับความต้องการเพื่อให้นักเรียนเกิดความพึงพอใจสูงสุด
Comfortable  บรรยากาศการให้คำปรึกษาที่เป็นกันเอง ข้อเท็จจริงและความจริงใจ เพื่อให้เข้าถึงความต้องการที่แท้จริงของนักเรียน
Analysis ทีมงานของเราจะช่วยวิเคราะห์ความต้องการของนักเรียนอย่างถูกต้อง
Trustfulความไว้ใจเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญของการให้บริการทางการศึกษา เรามุ่งมั่นที่จะมอบความไว้วางใจ ให้ข้อมูลที่เป็นจริงและเป็นประโยชน์มากสุด
Operational  อีกหนึ่งหน้าที่หลักของเรา คือ ดำเนินการทุกขั้นตอนให้สมบูรณ์ วางแผนขั้นตอนอย่างรวดเร็ว นักเรียนจึงมั่นใจได้ว่ากระบวนการทุกอย่างอยู่ในมือของทีมงานมืออาชีพ
Remarkable คือความพิเศษของการให้บริการที่มอบให้นักเรียนอย่างสูงสุด ไม่เหมือนใครจากทีมงานมืออาชีพ

 

agency

 

สำหรับการบริการของเดอะไลอ้อนนั้น สามารถปรึกษาได้ฟรี ไม่ได้มีค่าบริการอะไรครับ เนื่องจากทุกวันนี้นอกจากที่เราเป็นตัวแทนในประเทศไทยในโรงเรียน มหาวิทยาลัยต่าง ๆ มากกว่า 100 แห่ง เรายังมีพาร์ทเนอร์ร่วมกันทำงานในที่ต่าง ๆ ทั่วโลก ดังนั้น อย่างแรกให้นักเรียนที่เข้ามาสอบถามสบายใจก่อนเบื้องต้นได้เลยว่า โรงเรียน สถาบัน มหาวิทยาลัยที่ต้องการไปนั้นแล้วเจ้าหน้าที่แจ้งว่าสามารถทำได้ ก็รู้ได้ทันทีเลยนะครับว่า นักเรียนจะไม่ต้องเสียค่าบริการอะไรเพิ่มเติม ทางเดอะไลอ้อนเต็มใจช่วยเหลือนักเรียนอย่างสุดความสามารถด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และให้นักเรียนได้รับข้อมูลทางการศึกษาได้อย่างถูกต้องตามจริงจากมหาวิทยาลัยและโรงเรียนครับ รวมถึงกระบวนการทำวีซ่าที่เป็นไปตามกฎหมายนโยบายของประเทศนั้น ๆ อย่างเคร่งครัดครับ

 

อ้าว ทำไมเดอะไลอ้อนไม่คิดค่าบริการ? แล้วพี่ได้อะไร? ที่อื่นเค้าคิดค่าดำเนินการ 1-2 หมื่น ทำไมพี่ไม่คิดอะ? คำตอบ ทีมเดอะไลอ้อนขอตอบส่วนของนโยบายของพี่นะครับ เดอะไลอ้อนมีนโยบายธรรมาภิบาลที่ชัดเจน หากลูกค้าเลือกมาใช้บริการของที่เราแล้วเราไม่ได้เก็บค่าดำเนินการอย่างไร เพราะ



1คำตอบจากใจ  ก็เจตนารมย์เราอยากสร้างสิ่งที่ดี ๆ ที่ที่คนเข้ามาแล้ว ไว้ใจเชื่อถือได้สูงสุด ไม่ต้องมีเล่ห์มีกลกับการขาย สถานที่ที่เดินเข้ามาแล้ว คุณพูดได้เลยว่าจริงและสุจริต ว่ากันไปตามเหตุและผล พูดบ้านๆ ว่าทิ้งบัตรเครดิตไว้ คุณก็ไม่ต้องกลัวว่าใครจะเอาบัตรไปหากินอย่างอื่น   สำหรับบางที่เค้าคิดเงิน ถ้าถามมันก็ไม่แปลกหรอกครับ เค้าคงอาจจะประกันความเสี่ยงไว้ ค่าเสียเวลา เพราะว่าการคุยให้คำปรึกษาคน ๆ หนึ่งมันนานเหมือนกันครับ ไม่ว่าจะเป็น ค่าแรงงาน การตอบคำถามที่มากหรือ ได้วีซ่าเสร็จชิ่งหนี (สำหรับบางประเทศที่ยังไม่ต้องจ่ายค่าเรียนก่อนวีซ่าผ่าน) ค่าอะไรก็แล้วแต่ เพราะว่าอย่าลืมความต้องการของลูกค้าแต่ละคนไม่เท่ากัน  ซึ่งก็เป็นเรื่องปรกติและเข้าใจได้ ความเสี่ยงของเราถึงแม้จะเยอะกว่าปรกติแน่นอนเรื่องนี้  แต่สถานที่ดี ๆ เราเชื่อว่าเราจะเจอคนดีๆ เช่นกันครับ "Good people bring good people" 



1แต่คำตอบที่จากสมองอธิบายว่า

1. ก็ทางตัวแทนได้ค่าตอบแทนจาก โรงเรียน มหาวิทยาลัยหรือจากพาร์เนอร์ต่าง ๆ เราไม่ต้องการที่มาคิดอะไรเพิ่มเติมอีก ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่ปฏิบัติของตัวแทนสถาบัน มีข้อบังคับกฎระเบียบสัญญากับต่างประเทศ ที่มีอย่างเข้มงวดเช่นกัน 
2. เป็นข้อธรรมาภิบาลของบริษัทที่กำหนดมาอย่างชัดเจนกับเรื่องนี้เพื่อสนับสนุนการศึกษาและการบริการทางการศึกษา
3.ทางเดอะไลอ้อน ก็มีการแจ้งสุจริตใจก่อนเลยครับว่าอันไหนเราทำได้ อันไหนเราทำไม่ได้ ถ้าเราทำได้เราก็ช่วยเต็มที่ครับ ถ้าทำไม่ได้เราก็บอกตรง ๆ ว่าเคสนี้ทำไม่ได้ไม่ต้องมาเสียทรัพย์ในส่วนที่เราทำให้ไม่ได้ครับ

 

แต่เราคิดว่าจ่ายหรือไม่จ่ายลูกค้าเป็นคนเลือกที่กว่าครับ เพราะว่าการหาข้อมูลในสมัยนี้มันมาได้หลายช่องทาง ต่อให้ไม่มาถามเราลูกค้าก็อาจจะถามมาแล้วหลาย ๆ ที่ มาเปรียบเทียบบริการกันอยู่ดี สะดวกสุขภาพใจที่ไหนให้ลูกค้าตัดสินใจดีกว่าครับ ของแบบนี้คนซื้อรู้สึกได้ว่าแต่ละที่มีความแตกต่างอย่างไร ความพึงพออยู่ในระดับไหน ตรงใจเราได้ระดับไหน สำคัญการศึกษามันคือข้อมูล ยิ่งถ้าไม่เสียอะไรมันก็เป็นโบนัสให้กับเรา หรือเพราะว่าความสะดวกสบายก็ถือว่าหลายคนยึดถือเป็นหลักครับ

 

The Untold Story

อ่านเรื่องนี้สักนิด ไม่ติดใจแน่! สมัครเรียนเอง หรือ ผ่านตัวแทน มีความแตกต่างกันอย่างไร?

จริง ๆ การสมัครด้วยตัวเองหรือจะผ่านการบริการจากตัวแทน ก็ไม่ได้มีผลต่อการตัดสินใจของมหาวิทยาลัยแต่อย่างใด หรือ ได้เปรียบ เสียเปรียบอะไรไปมากกว่ากัน  ค่าเทอมก็ไม่ได้คิดมากกว่าหรือน้อยกว่าแต่อย่างใด ก็จ่ายตามจริงตามที่มหาลัยกำหนด จริงๆ แล้วนักเรียนก็เลือกที่จะสมัครตรงไปที่มหาลัยเองได้ครับ แต่ก็จะเหมาะกับนักเรียนมีความรู้เรื่องการทำวีซ่าพร้อมแล้ว หรืออาจจะแนวแน่ในการสมัครโรงเรียนเดียว มหาวิทยาลัยเดียว และถ้าผ่านคุณสมบัติแบบทั้งหมด ก็ไม่จำเป็นต้องเลือกตัวแทนช่วยได้ครับ หรือถ้าคนที่เลือกใช้ เลือกใช้บริการตัวแทน หรือ Representative ส่วนใหญ่จะมองในเรื่องของการบริหารทรัพยากรเวลา  ประโยชน์ที่มองเห็นชัดก็ในเรื่องอำนวยความสะดวกเสียมากกว่า  ซึ่งก็จะอธิบายให้ฟังในแง่หลักการที่อาจจะไม่ค่อยมีตัวแทนบอกนัก แต่ทางเดอะไลอ้อนจะอธิบายและวิเคราะห์ไปที่ละมุมมองเพื่อช่วยให้นักเรียนมีไอเดียมากขึ้น คำถามนี้นักเรียนหลาย ๆ คนมีความเห็นหลากหลาย ซึ่งอาจจะเป็นกลุ่มในนักเรียนโตแล้ว หรือระดับปริญญาโทขึ้นไป มักมีคำถามนี้บ่อย ในการเลือกที่จะสมัครเอง หรือ ผ่านตัวแทนเป็นต้น ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างในเรื่องโครงสร้างของประเทศอังกฤษ ออสเตรเลีย และ อเมริกา เป็นหลักก่อนละกันนะครับ

 

รู้หน้าที่ของตัวแทน (Representative) กันก่อนนะครับ 

      1. Application assistance

อย่างแรกเลย อันนี้คือบทบาทต้น ๆ เริ่มแรกต้องเข้าใจก่อนว่า หน้าที่หลัก ๆ ของตัวแทนในการศึกษานั้นจะเอื้ออำนวยความสะดวกในการช่วยเรื่องใบสมัครนั้นเอง การกรอกใบสมัครให้ ยิ่งหากบางคนสมัครหลายยู หลายโรงเรียน การนั่งกรอกเอง เช่น สมัครสัก 7 มหาวิทยาลัยก็กินเวลาไปครึ่ง ๆวันแล้วครับ ยิ่งหากบางคนต้องทำงานด้วย ก็จะใช้เวลา คือจริง ๆ ก็ไม่ได้ยากในการกรอกข้อมูลเนื่องจากเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับเราเอง แต่ในแง่ของทรัพยากรเวลาก็อาจจะเปลื้องสักนิดครับ  และนอกจากนั้นหน้าที่เรื่องการให้ข้อมูล  การให้ข้อมูลเกี่ยวกับคอร์สต่าง ๆ ที่ไปเรียน ซึ่งบางคนก็จะมีประสบการณ์ในการอยู่ประเทศนั้นๆ ก็นำข้อมูลมาแบ่งปัน พูดคุยมุมมองหลาย ๆ ด้านซึ่งนักเรียนก็จะได้ประโยชน์ไปไม่มากก็น้อย  และข้อมูลคอร์สที่อัพเดทต่าง ๆ ตัวแทนมักจะได้ข้อมูลด้านนี้ก่อนเป็นอันดับต้น ๆ  ไม่ว่าจะเป็น เดดไลน์ในการสมัคร  ซึ่งโปรแกรมแต่ละโปรแกรมนั้นบางที่ปิดรับต่าง ๆ กัน ตัวแทนก็จะทราบข้อมูลนี้เป็นการภายในก่อนจากเมล์ที่มหาวิทยาลัยสื่อสารตรงมา หรือการอัพเดทสถานะใบสมัครต่าง ๆ เช่น เอกสารขาดตกหล่น ก็จะได้รับการแจ้งมาเพื่อติดตามเอกสารต่าง ๆ ได้

 

      2. Convenience

ในแง่หลาย ๆ ประการบางคนอาจจะไม่ได้ทราบ แต่ถ้าคนในวงการศึกษาจะทราบดี ก็จะเป็นเรื่องการติดต่อสื่อสาร ซึ่งตัวแทนจะทราบบุคคลภายใน ในสาขานั้น ๆ ว่าติดตามใบสมัครนี้ได้อย่างไร ในกรณีเกิดการล่าช้า หรือต้องการการช่วยเหลือเป็นพิเศษ ตัวแทนก็จะช่วยประสานงานติดต่อ มหาวิทยาลัยมีหลากหลายคณะ การทำงานแต่ละคนจริง ๆ ไม่เหมือนกัน ดังนั้นหากรู้บุคคลที่เกี่ยวข้องนั้น ๆ ก็จะทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นไป แต่ถ้าบางคนไม่ได้เจอภาวะนี้ก็อาจจะไม่ได้รู้สึกต่างกันอะไรเท่าไหร่  จริง ๆ เรื่องนี้เป็นตัวแปลสำคัญอยู่ไม่ใช่น้อย จากประสบการณ์ บางที่เจ้าหน้าที่ใจดีมาก ไปตามใบสมัครแบบปริ้นแล้วถือไปหา admission ให้เลยเพื่อให้ออกใบตอบรับให้ทันเดดไลน์ นี้ก็ถือว่าพลิกไพ่ได้ไม่ใช่น้อย เนื่องจากระบบบางประเทศอย่างอังกฤษ เป็นการตอบรับแบบ First come , firsr served.  ขณะที่อมริกาอาจจะเป็นแบบระบบเอามากอง ๆ รวมกันแล้วตัดสินแบบคัดออก เจอทุกคนก่อนแล้วค่อยคัดประมาณนั้น

การสมัครผ่านตัวแทนก็เปรียบเสมือนในเรื่องการบริหารทรัพยากรเวลา ถ้าตัวแทนนั้นไม่ได้คิดค่าบริการใด ๆ ก็ยิ่งเป็นประโยชน์ต่อนักเรียน ยกตัวอย่าง บางคนมีหน้าที่การทำงานที่ยุ่งเหยิง เช่นนักเรียนอาจจะเรียนหมอปีสุดท้าย ฝึกงาน ไหนจะดูแลคนไข้ วันหนึ่งก็อาจจะหมดแล้ว ไม่ใช่ว่านักเรียนทำไม่ได้นะครับ การสมัครเรียนไม่ได้ยาก แต่เป็นเรื่องการบริหารทรัพยากรเวลาได้ระดับหนึ่ง  หรือบางคนสมัครหลาย ๆ ที่พร้อมกัน ก็ถ้าทำเองอาจจะเสียเวลาอยู่บ้าง แต่ถ้าผ่านตัวแทนไปก็เป็นหน้าที่ของเค้าในการไล่สมัครตามยูที่เราต้องการได้ครับ ก็มองไปในแง่เวลาอีกเหมือนกันนั้นเอง ก็เหมือนการโยนงานให้คนที่เค้าถนัดทำไป ดังนั้นก็อาจจะได้เรื่องของสปีดตามมาอีกทอดนั้นเอง

 

      3. Communication

เรื่องนี้ผู้เขียนก็ว่าสำคัญไม่น้อย ตัวแทนก็จะช่วยเรื่องการติดต่อสื่อสารให้โดยเฉพาะสมมุตว่าไปเรียนภาษาคอร์สระยะสั้น อันนี้จะเห็นได้ชัดเจน ก็ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษ อธิบายกันไปมาทางเมล์ ก็ยุ่งยากพอสมควร ก็ย่นเวลาในการติดต่อสื่อสารไปได้พอสมควร หรือการตรวจสอบราคาที่โรงเรียนส่งมาให้ เช่น ใบชำระค่าเรียน ค่าหอ ก็จะบอกว่ามนุษย์เรายังไงก็มีครับเรื่องการผิดพลาดต่าง ๆ หากนักเรียนมีผู้ช่วยตรวจสอบจากตัวแทน ผู้เขียนว่ามันก็ช่วยกรองด้านความถูกต้องไปได้เยอะครับ พูดกันเรื่องตรงไปตรงมาธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัย โรงเรียนภาษา เจ้าหน้าที่ก็มีหลายคนหลายแผนก คนทำงาน บางที่ก็พลาดได้ ซึ่งก็เข้าใจได้ หรือตัวแทนก็อาจจะมีผิดก็ได้ ก็พูดกันอย่างแฟร์ ๆ ดังนั้นตัวแทนก็ช่วยเกลาข้อมูล เป็นหูเป็นตากันได้ครับ เพราะว่าเป็นการรักษาผลประโยชน์ด้วยกันทุกฝ่ายพร้อม ๆ กัน คือช่วยกันนั่นเอง

หรือสำหรับในระดับมัธยม ผู้เขียนว่า การมีผู้ช่วยตัวแทนนี้ บรรยายกันไปได้ไปอีกหน้า ๆ ได้เลยครับ เพราะว่าเอกสารการดูแลนั้นเยอะกว่าระดับอื่นๆ เป็นอย่างมาก ไว้ค่อยอธิบายต่อในหน้าอื่น ๆ นะครับเรื่องนี้ยาวและเยอะเลยครับ


สำหรับระดับมหาวิทยาลัย ถ้านักเรียนคนนั้นไม่ได้มีอุปสรรคทางภาษา และเวลาไม่ได้เป็นปัญหาในการจัดการ หรือมหาวิทยาลัยนั้นไม่ได้มีตัวแทนด้วยข้อจำกัด อันนี้ก็สมัครเองตามนโยบายของแต่ลมหาลัยไป แต่ถ้ามหาลัยไหนมีตัวแทน การยื่นกับตัวแทน ไม่ว่าจะที่ไหนผู้เขียนว่าก็ยังได้ประโยชน์ในแง่ของด้านการสื่อสาร หรือรู้ภายในว่าจะติดต่อเรื่องนี้ได้กับใคร ยกตัวอย่าง หลาย ๆ มหาลัยก็มีระบบ chat bot  แต่ผู้เขียนก็ยังชอบปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์คนทำงานอยู่ดีครับ หรืออันนี้เห็นชัด บางที่อีเมล์ไป อาจจะไม่ได้คำตอบที่แบบเข้าใจเลย เจ้าหน้าที่ส่วนกลาง ก็อาจจะตอบแบบกลางๆ กว้างๆ บางทีก็ไม่ได้คำตอบที่ตรงมาเลย หรือ ปะลิงค์มาให้อ่านกันยาว ๆ ถ้านักเรียนไม่ได้แบบติดขัด ก็นั่งอ่านหางมกันไปอีกละครับ ซึ่งเอาจริง ๆเราก็อยากเห็นคำตอบว่าเป็นอะไรชัดเจน มากว่าปะลิงค์ ไล่ไปอ่านกันเป็นสิบ ๆ หน้าเป็นต้นหรือป่าวครับ เรียกว่า งม หากันอีกต่อ ไม่รู้ที่เข้าใจนั้นผิดถูกหรือไม่ คือที่บอกเพราะผู้เขียนก็พอ ๆ มีประสบการณ์มาแบ่งปัน แบบเรียล ๆ ละกันนะ ตอบไม่ตรงคำถาม กว่าจะได้คำตอบก็รอผ่านไปแต่ละแผนกกันไป ซึ่งถ้าข้อมูลพวกนี้ตัวแทนได้รับมาก่อนแล้ว  ก็ทำให้การสื่อสารในเรื่องเฉพาะนั้นๆ กับนักเรียนมันไวตามมานั้นเองครับ

      4. No service charge

นักเรียนหลายคนลืมไปว่าการใช้บริการตัวแทนส่วนใหญ่ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ นะครับ (แต่บางที่คิดนะครับก็ตรวจสอบดู) ที่ตัวแทนไม่ได้คิดก็เพราะว่าตัวแทนได้ค่าตอบแทนจากมหาลัยนั้นๆ แล้ว ดังนั้นในเมื่อนักเรียนไม่ต้องเสียค่าบริการใด ๆ ก็ถือว่าเป็นประโยชน์ในแง่ดังกล่าวข้างบนไป ยกเว้นเสียแต่ว่าถ้าบางที่คิด ก็ต้องไปดูว่าคิดค่าอะไร ซึ่งจริงๆ นักเรียนก็เลือกได้ เพราะว่าตัวแทนก็มีมหาวิทยาลัยเหมือนกันได้  การคิดเงินบริการไม่ได้หมายถึงการการันตีเข้ามหาลัยนะครับ  บางบริษัทคิด แต่บางบริษัทไม่คิด นักเรียนก็เลือกได้ครับ ถามว่าจำเป็นต้องจ่ายมั้ย ส่วนตัวก็ต้องไปดูว่าที่บริษัทคิดนั้นเป็นค่าอะไร บางบริษัทคิดเป็นค่าดำเนินการ ถามว่าทำไมบางที่คิด  ก็อาจจะเป็นไปได้ว่าเค้ามีบริการเพิ่มให้ หรือบางที่ก็อาจจะกันนักเรียนไว้  ซึ่งสำหรับเราก็เข้าใจนะครับ ตัวอย่าง นักเรียนให้เค้าทำงานหลายอย่างๆ ให้ ตั้งแต่การหาคอร์ส หาข้อมูล สรุปสุดท้ายอาจจะสมัครเองไป ซึ่งตัวแทนก็ทำงานเสียเวลาไป มันก็มีแหละครับเรื่องความรู้สึก หรือไปใช้บริการที่อื่น อันนี้หมายถึงว่าไม่ได้มีปัญหาด้านการบริการกันนะครับ พูดถึงทั่วๆ ไป ดังนั้น ถ้ามองอกเค้าอกเรา บางคนทุ่มเทแรงกาย แรงเวลาไปครึ่งทางกัน  ก็เป็นไปได้ที่เค้าจะคิดค่าบริการไว้ก่อนเลยเป็นต้น อาจจะเป็นนโยบายของบริษัทนั้น ๆ  แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้เสียค่าบริการนะครับ  ซึ่งก็เป็นสิทธิ์ของนักเรียนในการเลือกบริการแบบไม่เสียเงิน จริง ๆ แบบไม่มีค่าบริการก็ยังดีกว่าอยู่ดีครับ ส่วนในแง่ของบริการ จะถูกใจไม่ถูกใจก็ไปว่ากันอีกที แต่อย่างน้อยมองบวก ถ้าไม่ได้เสียทรัพย์ ยังยิ้มได้ระดับหนึ่งครับ  และยังไงนักเรียนเองก็ได้ประโยชน์ในแง่ว่าไม่ได้เสียอะไรเพิ่ม

หรือ จะเสียเงินก็พิจารณาดูบริการเสริมนั้นคลอบคลุมสิ่งที่เราต้องการหรือไม่อย่างไร เราอาจจะต้องการบริการพิเศษ แบบ Exclusive หรือไม่ เป็นต้น ตัวอย่างที่น่าสนใจ ในบางมหาวิทยาลัยไม่ได้มีตัวแทน เพราะว่ามหาลัยนั้น ๆ ก็อาจจะมีชื่อเสียงในตัว และจำนวนใบสมัครก็แย่งกันอยู่แล้วและจำกัด เช่น ชื่อดังอย่างในอังกฤษ แคมบริดจ์ อ๊อกฟอร์ด ยูซีแอล แอลเอสอี  อิมพีเรียล กลุ่มพวกนี้ก็คัดนักเรียนเกรดแรง ๆ หนัก ๆ เข้า   กลุ่มยูนี้ก็ไม่ได้มีตัวแทนเพราะว่าเค้าไม่ต้องมาจ่ายค่าการตลาดต่าง ๆ ให้ตัวแทนเนื่องจากเป็นยูที่รับจำกัดอยู่แล้ว และมีมาเป็นร้อย ๆ ปี อย่างแคมบริด์ อ๊อกฟอร์ด ไม่ต้องมีตัวแทนก็รับแทบไม่ไหว ดังนั้นความจำเป็นในการจ้างตัวแทนต่างประเทศก็อาจจะไม่จำเป็นหรอกครับ  เพราะว่าชื่อเสียงก็มีอยู่แล้วร้อย ๆ ปี ดังนั้นในบางบริษัทก็อาจจะตั้งค่าบริการไว้ว่าถ้าสมัครกลุ่มยูพวกนี้ก็คิดค่าบริการไป เพราะว่าตัวแทนเองก็ไม่ได้ค่าการตลาดจากมหาวิทยาลัยก็จำเป็นต้องคิดค่าบริการกับนักเรียนแยกต่างหาก ซึ่งก็พูดกันตรง ๆ นะครับก็ไม่แปลก ในแง่การทำงาน แต่เป็นทางเลือกของนักเรียนเอง แต่ว่าถ้านักเรียนเกรดตามเกณฑ์ก็สมัครไปเองได้ เกรดถึงยังไงมหาลัยก็รับครับ ไม่ต้องไปเสียเงินได้ ถ้าค่าบริการไม่แพงโหดเกินไป หรืออยากได้บริการในแง่ความสะดวกหรือการมีกุนซือก็เป็นอีกเหตุผล

      5. Waived appication fee

อันนี้ในฝั่งของออสเตรเลียจะเห็นชัดเจน เนื่องจากระบบในออสเตรเลียนั้นต้องยกย่องเลยว่า มหาวิทยาลัยนั้นให้เครดิตกับตัวแทนการศึกษาในต่างประเทศมาก ๆ จะสังเกตได้ว่า ในเว๊ปไซต์เค้าจะให้ติดต่อตัวแทนโดยตรงเลย ก็คืออยากรู้อะไรไปถามตัวแทนใกล้บ้านหรือในประเทศที่นักเรียนอยู่ ซึ่งถ้ามองหลักการของเค้า เค้าสื่อสารรอบเดียวกับตัวแทน และไม่ค่อยมาอธิบายปลีกย่อย ๆ หลายคน คือทำงานรอบเดียวผ่านตัวแทน อยากรู้อะไรไปถามตัวแทนเอาเน้อ ประมาณนั้นครับ แต่ประโยชน์ที่นักเรียนได้รับโดยตรงก็เห็นจะเป็นเรื่องเงิน ๆ ทองๆ เนี่ยแหละครับ  คือมหาวิทยาลัยในออสเตรเลียจะมีค่าใบสมัคร เช่น 100 เหรียญเป็นต้น ถ้าสมัครตรงก็เสียปกติ แต่ถ้าผ่านตัวแทนจะมีโปรโมชั่นเวปค่าใบสมัครนี้ด้วยครับ เค้าจะให้รหัสตัวแทนมาในการใส่ไปในใบสมัคร สมมุตสมัครหว่านสักห้าที่ คิดเป็นเงินเท่าไหร่ไปแล้วครับ อันนี้ประโยชน์นี้เห็นชัดเจนเลย ก็ถือว่าเป็นการทำงานที่ได้ประโยชน์ทั้งสองฝั่ง ไม่ว่าจะนักเรียนเอง ตัวแทนและมหาลัยด้วยครับ สำหรับคนทำงานในแง่ของการให้เกียรติตัวแทนทำงานแทนมหาวิทยาลัย ถือว่าคะแนนนี้เต็ม มองแง่หลักการทำงานก็ถือม้วนเดียวจบทีเดียว

  1. Visa assistance

และที่ปัจจัยสำคัญคือการดูแลช่วยเหลือวีซ่า ยิ่งประเทศอังกฤษ หรือออสเตรเลียด้วยแล้ว กฎหมายด้านวีซ่ามีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ก็จะช่วยลดการปฏิเสธวีซ่าได้ หรือ ง่าย ๆ ก็คือความสะดวกในแง่เอกสาร ตัวแทนจะดูแลเรื่องวีซ่าของนักเรียนในขั้นตอนสุดท้าย ถ้าที่ไหนคิดเงินพิเศษก็เป็นการพิจารณาจากนักเรียนในการเลือกตัวแทนเอานะครับ แต่ส่วนใหญ่บริการนี้ไม่ได้เสียเงินอะไรเพิ่มเติมครับ ถือว่าเป็นบริการฟรีส่วนหนึ่งให้กับนักเรียน และว่าไปแล็วก็ถือว่าเป็นหน้าที่หลัก ๆเลยทีเดียวหลังทำเอกสารด้านการเรียนให้เสร็จเรียบร้อย

ยิ่งถ้าเป็นออสเตรเลียนิวซีแลนด์ นักเรียนภาษาต้องมีเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ อย่างน้อยก็ตัวแทนก็ยังสามารถช่วยให้คำแนะนำในการเขียน และเนื้อหาให้เหมาะกับที่สถานทูตตั้งกติกาไว้ด้วยครับ หรือ

การสัมภาษณ์สำหรับสถานทูตอเมริกา จริงอยู่ตัวแทนมหาลัยหรือโรงเรียนภาษาไม่มีอำนาจในการตัดสินเรื่องวีซ่านะครับ การช่วยเหลือก็เป็นในแง่เอื้ออำนวยความสะดวกให้ และแบ่งปันข้อมูลที่แท้จริงเพื่อให้นักเรียนได้เตรียมตัวสัมภาษณ์อย่างมีประสิทธิภาพ อันนี้ค่อนข้างอิมแพคมากครับ การเตรียมตัวที่ดีทำการบ้านและซ้อมก่อน อันนี้ชัดเจนในแง่ของประสิทธิภาพและคุณภาพในการเตรียมเอกสารและตอบคำถามในการสัมภาษณ์  แต่อย่าลืมว่าตัวแทนต้องไม่การันตีเรื่องนี้นะครับ ถ้าไปเห็นใครลงโฆษณาแบบการันตีวีซ่า อะ ๆ อันนี้ฉุกคิดไว้ก่อนว่ากลิ่นไม่ค่อยดี อย่าไปลงเชื่อคำพูดพวกการันตีวีซ่าเด็ดขาด จะได้ไม่ถูกหลอกเสียเงินเสียทองเรื่องแบบนี้นะคับ  การที่ตัวแทนของสถาบันการเรียนดูแลเรื่องวีซ่าก็เปรียบเหมือนเรามีโค้ชนักกีฬาที่ที่ให้คำแนะนำก่อนลงสนามต้องเจออะไร อย่างน้อยประโยชน์มันเป็นไปในแง่ของการเตรียมตัวการสัมภาษณ์ที่ดีมากกว่าครับ รู้เค้ารู้เรารู้เชิง ยังไงก็ดีกว่าไม่รู้ครับ อย่างน้อยตัวแทนก็มีประสบการณ์แชร์มาเล่าให้เป็นประโยชน์เคสนี้ทำไมไม่ได้และได้เพราะอะไร เหมือนที่บอกว่ามีแต่ได้ไม่ก็เสมอตัวครับ

  1. เมื่อไม่คิดค่าบริการแล้ว ตัวแทนได้อะไร?

คำถามนี้นักเรียนและผู้ปกครอบชอบถามมาก ง่าย ๆ ครับ ก็เป็นหนึ่งในธุรกิจการบริการนะครับ ก็ง่าย ๆ ค่าแรงค่าเหนื่อยที่ค่าการตลาดในการประชาสัมพันธ์ ทำการตลาดให้โรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยต่าง ๆ  หลักการแต่งตั้งตัวแทนในต่างประเทศจะนิยมใช้กันมากครับ เพื่อให้การทำงานเป็นเครือข่ายและราบรื่น บางครั้งการเข้าใจคนในพื้นที่นั้น การทำงานก็ให้คนประเทศนั้น ๆ ทำงานมันก็ดีในหลาย ๆ แง่ ก็ให้ค่าตอบแทนนั้น ๆ ไปครับ ดังนั้นเมื่อตัวแทนได้ค่าตอบแทนก็เป็นเรื่องปกติที่เค้าจะทำงานให้นักเรียนอย่างเต็มความสามารถไป นักเรียนก็ได้บริการความสะดวกสบาย ก็ สามวินครับ วินนักเรียน วินโรงเรียน วินตัวแทน คือก็ได้ประโยชน์ไปทั้งสามส่วน ผู้เขียนอธิบายง่าย ๆ วินวินวิน sitution  ครับ

  1. แล้วทำไมบางที่มีคิดค่าบริการเพิ่ม? ก็เป็นไปตามนโยบายของแต่ละที่ครับ ผู้เขียนก็เข้าใจในหลักการธุรกิจของแต่ละที่นะครับ

เพราะว่าเอาเข้าจริง ๆ บางคนมีความคาดหวังการบริการต่างกัน ระดับการช่วยเหลือที่ต้องการได้รับมากน้อยแตกต่างกันไป แต่ผู้เขียนบอกอย่างหนึ่ง การบริการนั้น 90% จะเกิดก่อนไปเริ่มเรียนครับ เช่น การสมัครเรียน การเลือกคอร์ส การทำวีซ่า การจองที่พัก การจองตั๋วเครื่องบิน การจ่ายค่าเทอมเหลือเพียงแค่ 10% เท่านั้นที่จะมีหลังการทำเรื่องไปเรียน ซึ่งก็น้อยมาก ๆ แล้วครับ เพราะขั้นตอนสำคัญ ๆ อยู่ก่อนจะไปเริ่มเรียน พอเริ่มเรียนแล้วนักเรียนก็แทบไม่ต้องการช่วยเหลือใด ๆ มากครับ  

หรือผู้ใช้บริการก็ต้องเข้าใจคนให้บริการอีกมิติ  ยกตัวอย่างเช่น ท่านไปขอข้อมูลติดต่อทีมงานเค้าช่วยติดต่อหมายถึงว่าตกลงใช้บริการเค้านะครับ (ไม่รวมถึงการตัดสินใจอยู่)  เจ้าหน้าที่ให้บริการก็ไปใช้เวลาทำงาน ส่งข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ให้ สอบถามกันไปมา จนได้ข้อมูลตกผลึก แต่อาจจะอยู่ ๆ ไปสมัครตรงเอง สรุปคนทำงานก็คงมึน ๆ  ไปไม่ใช่น้อย  คือการบริการด้านนี้ความเสี่ยงมีสูงด้วยธรรมชาติ เพราะว่าไม่ได้คิดเงินก่อนใช้บริการนั้นเองครับ บางที่จึงอาจจะคิดค่าบริการไว้ก่อนเลยก็เป็นความเข้าใจได้ ไม่ได้แปลกอะไร เพราะว่าคนเราก็มีหลากหลายรูปแบบนะครับ อันนี้ไม่รวมเหตุการณ์ของความไม่พอใจในบริการนะครับ จะหมายถึงธรรมชาติของการใช้บริการ ยิ่งแต่ละคนมาหลากหลายรูปแบบ หรือบางที่ก็ขอมัดจำ พอทำวีซ่าทุกอย่างเสร็จกระบวนการก็คืนก็มีครับ ดังนั้นก็ไปดูที่บริบทนโยบายของแต่ละที่ว่าคิดหรือไม่คิด

อีกประเด็นน่าสนใจ ประกันความเสี่ยงไว้ครับ เช่น ตัวอย่าง อย่างประเทศอเมริกา ในระดับเรียนภาษา ด้วยกฎไม่ต้องจ่ายค่าเรียนได้ เพราะว่าต้องสัมภาษณ์ให้ผ่านก่อนถึงจะทำการจ่ายเงิน ดังนั้น ตัวแทนทำงานสมบุกสมบันช่วยกันไม่ว่าจะเป็นเอกสาร ซ้อมรบ เอ้ยซ้อมสัมภาษณ์ช่วยเหลือกันอย่างเต็มที่ สุดท้ายนักเรียนได้วีซ่าไม่จ่ายค่าเทอมสะงั้น ประมาณซิ่งวินหนีเข้าไปประเทศไปเลย ไม่กลับมา วิชากางร่มเหินเวหาได้คะแนนเต็ม ดังนั้นความซื่อสัตย์ที่มอบให้กันก็หายแว๊บไปเลย จุดประสงค์ในการขอไปเรียนดันเปลี่ยนไปอย่างอื่น มาแบบนี้ไม่เซ็ง ก็คงเป็นไปไม่ได้นะครับ เหนื่อยเสียใจกันไป แต่ถ้าอย่างประเทศอื่น ๆ แต่ยังคิดค่าบริการ ถ้าคิดเงินก็ไปดูกันที่บริบทว่านักเรียนพอใจและโอเคมั้ยเพราะว่าตัวแทนมหาลัย หรือโรงเรียนนั้น ๆ อาจะไม่ได้มีที่เดียว  ก็เหมือนซื้อรถ จะดูโชว์รูมไหนรถก็ยี่ห้อเดียวกันรุ่นเดียวกันที่แสดงโชว์ครับ แต่ อยู่ที่ว่าพอใจว่าใกล้บ้าน ได้ของแถม ได้ฟังชั่นอะไร บางที่ซื้อรถยี่ห้อนี้เพราะว่าถูกใจโปร หรือว่าพอใจกับพนักงานก็ว่ากันไปครับ แนะนำว่าดูหลาย ๆ ที่ แล้วเปรียบเทียบความพึ่งพอใจตามวิจารณาณของแต่ละคน

  

หรืออีกกรณี สมัครไปเองแล้ว แล้วต้องการช่วยเหลือทำวีซ่าผ่านตัวแทน ทำได้หรือไม่

กรณีนี้เยอะกันแทบทุกที่ครับ ขั้นตอนนี้ก็ทำให้ตัวแทนลำบากใจไม่ใช่น้อย อย่างอื่นต้องเข้าใจหลักการเรื่องของ Data Protection (GDPR) ก่อนนะครับ การที่เริ่มต้นไปสมัครเองแล้วต่อมาต้องการให้ตัวแทนช่วยเหลือ ทำไมบางที่ปฏิเสธในการช่วยเหลือ เนื่องจากมีเหตุผลของการเข้าถึงข้อมูลด้วยครับ หากบางมหาลัยไม่ได้อนุญาตให้บุคคลที่สามที่ไม่ได้รับการ authorised ในการเข้าไปติดต่อหากสมัครตรงไปแล้วที่เรียกว่า direct application ถ้าผ่านตัวแทนแต่แรกก็จะมีระบบ Agent portal ซึ่งแบบนี้ก็จะเป็นระบบที่ตัวแทนได้รับอนุญาตเป็นทางการในการเข้าถึงรายละเอียดต่าง ๆ  ดังนั้น นักเรียนบางคนก็อาจจะไม่ทราบ ยกตัวอย่างนักเรียนติดต่อตัวแทนไป อาจจะหาขอข้อมูลจากตัวแทน คุยกันจนได้ข้อมูลเรียบร้อย แต่บังเอิญไปสมัครเอง ซึ่งก็มีจำนวนไม่น้อย   แต่เมื่อมาถึงขั้นตอนวีซ่าติดขัดต้องการให้ตัวแทนช่วยต่อ ซึ่งอันนี้ฝ่ายหลังบ้านก็จะเริ่มทำงานกันลำบากขึ้น เพราะว่าไม่ได้ทุกมหาลัยจะอนุญาตให้เปลี่ยนวิธีการได้ ด้วยข้อบังคับกฎหมายการเข้าถึงข้อมูล และรักษาข้อมูลของผู้สมัคร ในยุโรปนี้ก็จริงจังมากนะครับ ถึงขนาดร่างกันเป็นกฎหมายเรียบร้อย ดังนั้น ในกรณีที่ไม่ได้ผ่านการสมัครตัวแทนแต่แรก แล้วต้องการให้ทำวีซ่าให้หรือติดต่อมหาลัยให้ต่อจากนี้ บางเอเจ้น หรือตัวแทนมหาลัยก็จะคิดค่าบริการได้เช่นกันครับ  หรือในตัวบทสัญญาของมหาลัยที่มีกับตัวแทน อ่อ อย่าลืมนะครับ ตัวแทนต้องมีสัญญา Agreement มีข้อปฏิบัติการทำงาน ข้อบังคับที่อยู่ภายใต้กฎหมายของประเทศนั้น ๆ ซึ่งต้องปฏิบัติตาม

หรือถ้ามหาลัยอนุญาตให้ช่วยนักเรียนต่อได้ในกรณีนี้ ก็ต้องยินยอมเซ็น ใบ Consent form อนุญาตการเข้าถึงข้อมูล และรักษาข้อมูลของผู้สมัครภายใต้กฎหมาย  ก็แล้วแต่กฎของแต่ละที่ไป ซึ่งเมื่อตัวแทนได้รับอนุญาตในการเข้าถึงข้อมูล ท้ายสุดก็ไม่ได้คิดค่าบริการอะไรครับ  แต่ถามว่ามีค่าบริการได้มั้ย แน่นอนมีได้ครับในส่วนนี้ ซึ่งก็เป็นธรรมดา Fair enough สำหรับในกรณีแบบนี้ครับ

หรืออีกเคส คือนักเรียนไปสมัครเองแล้ว แต่บางข้อมูลหาคำตอบไม่ได้ ติดขัด รอคำตอบนานจากมหาลัย แล้วมาสอบถามตัวแทนต่อ ทำไมตัวแทนบางที่ปฏิเสธ ก็ด้วยเหตุผลของการทำงานที่มีอยู่นะครับ อย่าเพิ่งไปมองแง่ร้ายว่าทำไมเค้าปฏิเสธไม่ได้ให้ความช่วยเหลือต่อ ก็ด้วยเหตุผลของการทำงาน สัญญา agreement ที่มีกับมหาลัย หรือเรื่องของกฎหมายด้านข้อมูลเช่นกัน รวมถึงระเบียบกฎข้อบังคับต่าง ๆ  ดังนั้นหากเค้าปฏิเสธ ก็ให้มองหลักการทำงานด้านนี้นะครับและไม่ได้สร้างอคติซึ่งกันและกันนะครับ เช่น ซื้อรองเท้ากีฬาจากแบรนด์ดังในเว๊ปทางการ และบังเอิญใส่ไม่ได้ มาขอเปลี่ยนที่ร้าน พนักงานร้านก็ไม่เคยเจอเรามาก่อน ก็ธรรมดาที่พนักงานร้านอาจจะงง ๆ บ้างก็ต้องสอบถามเรื่อง ซื้อมาจากที่ไหน จ่ายเงินวิธีไหน เพราะว่า รุ่นนี้รองเท้านี้อาจจะไม่มีขายที่ช้อป การยกเลิกหรือเปลี่ยนสินค้าไอเทมนี้ก็อาจจะไม่มีในระบบ ดังนั้นก็อาจจะไปดูที่นโยบายการเปลี่ยน เปลี่ยนได้ไม่ได้ ต้องทำขั้นตอนยังไง เค้าอาจจะต้องให้เราไปในเว๊ปไซต์และทำการยกเลิกในระบบเอง เป็นต้น อันนี้เปรียบเทียบให้เห็นภาพนะครับ  เริ่มแรกมายังไง ให้ดูเป็นที่เรื่อง ๆ ไป ทำต่อได้ไม่ ถ้าทำได้ต้องทำอะไรอย่างไรนะครับ

  1. Strong relationship ผู้เขียนว่าส่วนนี้ก็เป็นไปในแง่จิตวิทยา ตัวผู้เขียนรู้สึกดี ๆกับ human interaction การที่มนุษย์ยังปฏิสัมพันธ์ มีการสอบถามพูดคุยกัน

การให้คำปรึกษา แลกเปลี่ยนประสบการณ์ หรือข้อมูล หลาย ๆ ครั้งข้อมูลความรู้ใหม่ ๆ ตัวแทนการศึกษาก็ยังได้จากนักเรียนและผู้ปกครองนะครับ ไม่ใช่แค่ว่าฝ่ายตัวแทนจะให้ข้อมูลอย่างเดียว หลายเคสข้อมูลที่ดีนั้นลูกค้าเป็นผู้ให้ก็มีเยอะแยะมากๆ  นั่นหมายถึงเกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน ยิ่งด้วยระยะเวลาในการทำเรื่องการเรียนไม่ได้จบแค่วันสองวัน สำหรับเคสนักเรียนปริญญาโท รู้จักกันเป็นครึ่ง ๆ ปี หรือหนึ่งปีกว่าจะจบเคส ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น เหมือนญาติสนิทกันไปเลยก็มี การช่วยเหลือกัน การอยู่เคียงข้างกันไปเวลาสอบถามแล้วเกิดการบรรลุผลอันดี ผู้เขียนว่าแง่นี้ดีมากครับ อันนี้ก็แล้วแต่เคส ๆ ไปนะครับ แต่อย่างน้อย ๆ การมีเพื่อนๆ มีคนในการแนะนำข้อมูล อัพเดทสถานการณ์ก็เป็นประโยชน์ และถ้าความสัมพันธ์ที่ดีมีมิตรภาพใหม่ๆ เกิดการแนะนำลูกค้าให้กัน หรืออย่างน้อยในเรื่อง mental จิตใจก็ได้มากนะครับ  หรือหากเป็นนักเรียนระดับเล็ก จะบอกว่าปัญหาเรื่องการสื่อสารอันนี้เยอะกว่าปกติ อย่างน้อยการประสานงานที่มีตัวแทนตัวกลางช่วย ก็ต้องบอกว่ามันก็เอื้ออำนวยความสะดวกให้ผู้ปกครองได้อย่างค่อนข้างมาก ในแง่ข้อมูล และเวลา มองไปมาก็สร้าง Trust ให้กันได้ หรือแง่บวกก็ได้ความสะดวกสบาย บริหารทรัพยากรเวลา สร้างคอนเนคชั่นได้มิตรภาพดีที่ ถ้าพูดภาษาง่าย ๆ บวกหรือเสมอตัวครับ

  1. ความนิยม แต่งตั้งตัวแทนดำเนินการแทน ในต่างประเทศ

จริงๆ ในสังคมต่างประเทศก็มักจะจ้างหรือแต่งตั้งหน้าที่ให้ตัวแทน ส่วนใหญ่ก็จะไม่ค่อยปรากฎตัวเองในการติดต่อหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นราขการ องค์กรเอกชน เห็นได้ชัดตามบริการต่าง ๆ เอกสารต่าง ๆ  พูดง่าย ๆ ก็มีตัวแทนทำให้ ไม่ได้หมายความว่าทำไม่ได้นะครับ คือเหมือนค่านิยมคนที่จะให้คนที่เชี่ยวชาญด้านนั้น ๆทำไป ลดเวลาและการติดต่อที่ต้องไปทำเอง

ระบบในอังกฤษเว๊ปของทางราชการ ก็จะมี Intructions มีฟอร์มให้ดาวน์โหลดชัดเจนมาก สามารถทำเองได้เช่นกัน แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยเช่น ทำเรื่องภาษี ขอ pension ถามว่าในรายละเอียด กรอกเองได้ไม่  ได้ แต่ส่วนใหญ่มักให้ตัวแทนด้านทนายความหรือบัญชี ไปยื่นเรื่องให้ จ่ายค่าบริการไป แต่ไม่ต้องเสียเวลา กรอกเอกสาร หรือต้องไปยื่นทำเอง คนจำนวนมากโยนงานด้านนี้ให้ตัวแทนด้านนั้นๆ ทำ ก็เยอะพอสมควรครับ คนที่นู้นจะบอกติดปากว่า “มีอะไรติดต่อ representative ผมเอาครับ”   หรือเห็นชัด ๆ ใกล้ตัว การหาบ้านเช่า หรือการซื้อขายบ้าน อันนี้ก็จะมีการติดต่อบ้านผ่าน Estate agent เจ้าของบ้านจะไม่ค่อยคุยกับลูกค้าตรง ๆ เท่าไหร่ ง่าย ๆ จะตอบคำถามหลาย ๆ คน คนที่นู้นไม่ค่อยมีนิสัยนั่งตอบคำถามซ้ำ ๆ ก็โยนงานให้ตัวแทน จะดิวก็เหลือวาระเรื่องสำคัญแบบท้าย ๆ จะปิดดิวเป็นต้น  มีอะไรให้เอเจนซี่ส่งข้อมูลมา ติดต่อกลับไป หรือ ดำเนินการแทน เป็นต้น จึงไม่แปลกเอกสารราชการ จะมีช่องว่างให้เติมว่า คุณกรอกเอกสารเองหรือ ตัวแทน ถ้าเป็นตัวแทน ให้ระบุรายละเอียด เช่น ชื่อ ที่อยู่ อีเมล์ เบอร์ เป็นต้น

 

แล้วจะมีวิธีการเลือกตัวแทนหรือเอเจ้นอย่างไร?

  1. ง่าย ๆ เลยนะครับ เดินไปหลาย ๆ ที่ ถามหลาย ๆ บริษัท ให้พูดคุยมากกว่าหนึ่งที่ โดยปกติมหาลัยหรือโรงเรียนก็จะมีตัวแทนมากกว่าหนึ่งที่ หรือไม่ได้ผูกขาดเบ็ดเสร็จ และนักเรียนหรือผู้ปกครองก็เปรียบเทียบเลยครับ ว่าข้อมูลที่เราได้รับมานั้นเป็นอย่างไร โลกเล็กลงทุกวัน ข้อมูลสมัยนี้หากันง่ายมาก ยังไงในก็ต้องมีคนกล่าวถึงไว้หมายถึงลูกค้าที่แท้จริงก็ต้องมีทิ้งฟิตแบคไว้บ้างครับ หรือแม้แต่เวลาที่เข้าไปสอบถาม เราก็ตอบได้ว่าเป็นอย่างไร บริการ ให้ข้อมูลเป็นไง ชัดเจนมั้ย เป็นต้น แต่ละที่เป็นอย่างไร นักเรียนหรือผู้ปกครองก็ตัดสินใจได้ครับ ไปดูหลาย ๆ ที่แล้วตัดสินใจประกอบครับ อันนี้ช่วยได้เยอะ และเราจะเห็นข้อนี้ชัดเจนด้วยตัวเอง รีวิวสำหรับผู้เขียนเฉยๆ ครับ มันจ้างมันสร้างกันได้ ทำลายกันก็มี สมัยนี้ก็นะครับ อย่างว่า เอาตัวเราเนี่ยแหละครับ ประสบการณ์ตรง ๆ ไปเลือกเอา ถามเอง ไปจริง จากประสบการณ์ตัวเองน่าเชื่อถือสุดเพราะว่าข้อมูลการเรียนต่อ ไม่ใช่สินค้าจับต้องได้ หรือบริโภคดังนั้นต้องไปถามพูดคุยเพื่อให้ได้รับข้อมูลที่มีคุณภาพมากที่สุดครับ ส่วนรีวิวแบบป้ายไฟ ป้ายเชียร์ตามสื่อก็ไว้เอ็นเตอร์เทนประกอบการตัดสินใจไปแบบสนุก ๆ ได้ครับ 555 ถึงอย่างไรการสอบถามนั่งคุยหรือสื่อสารผ่านทางเทคโนโลยี ท่านก็สามารถตัดสินใจจากวิจารณาณได้ครับ ผู้เขียนผู้ใช้บริการตัดสินใจได้ครับ

  1. เลือกตัวแทนหรือบริษัทที่มีประสบการณ์ ภาษาบ้าน ๆ ก็ยิ่งเยอะยิ่งดี เก๋าหน่อยก็จะอธิบายกันแบบกำหนดรู้ได้ ประมาณนั้นครับ อย่างน้อยหลาย ๆ เรื่องสำคัญ เช่นวีซ่า ระบบการเรียน เรื่องของคอร์สโปรแกรม ไม่มั่วนะครับต้องชัวร์ ต้องให้ข้อมูลด้วยสกิลแบบ High quality information เพราะว่าข้อมูลเรียนต่อต่างประเทศมันสำคัญ ได้ข้อมูลเยอะ ๆ ยิ่งดี ยิ่งมียิ่งได้ประโยชน์ และต้องมีการอัพเดทตลอด ไม่ต้องเชื่อทั้งหมดก็ได้ครับ เพราะว่าข้อมูลที่แท้จริง ถูกต้องยังไงต้องอ้างอิงได้จากเว๊ปที่น่าเชื่อถือได้ทั้งหมด เช่น เนื้อหามหาลัย หรือทั่วไป นักเรียนก็ยังตรวจสอบได้อีกต่อ ไม่ยากครับ แต่สำคัญเรื่องของปฏิสัมพันธ์ หรือสกิลในการตอบ และการช่วยเหลือ ส่วนตัวผู้เขียนก็ชอบความเร็วในการให้ข้อมูล ไม่มาแบบจังหวะสโลโม ถามอะไรที รอกันเป็นอาทิตย์ ๆ อันนี้ก็ไม่ไหว จะมีตัวช่วย ตัวช่วยนั้นก็ต้องตอบโจทย์ได้ไวในระดับหนึ่ง ไม่งั้นก็ไม่ต้องมีถูกมั้ยครับ อันนี้ผู้เขียนไอเดียส่วนตัวนะครับ เรื่องความไว ก็เป็นที่ความรู้ของคน ๆ นั้นพร้อมความกระตือรือร้นในการทำงานให้บรรลุผล ก็ส่วนนี้ผุ้ใช้บริการก็ตัดสินได้เช่นกัน

  1. เรื่องของราคา มีราคาซ่อนเพิ่มมั้ย คิดค่าบริการโหด หรือไม่คิดเลย อันนี้ก็พิจารณาตามหลักของแต่ละคนนะครับถ้าต้องเสีย เสียอะไร ถามให้ละเอียด ถ้าไม่เสียก็สบายตัว บริการไม่ถูกใจจอร์จ ก็ยังดีกว่าเสียเงิน อันนี้ติดขำ ๆ ไปนะครับ

ยังไงผู้เขียนก็หวังว่าผู้อ่านเปิดใจ และมองเห็นข้อเท็จริง รายละเอียดเรื่องการเลือกเอเจ้น หรือการสมัครเอง มีความแตกต่าง ข้อดีข้อเสียอย่างไร ก็จะได้เข้าใจหลักการที่เหมาะกับตัวเอง หรือหลักการทำงานที่หลายคนอาจจะส่งสัยแต่ไม่มีคำอธิบายนะครับ ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย ในยุคที่สังคมข้อมูลเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วการได้ข้อมูลเท็จจริงสามารถสร้างความคุณภาพความเข้าใจอันดี สร้างสังคม สร้างทัศนคติให้กันและกันได้ครับผม