LAIS ศูนย์วางแผนเรียนต่อต่างประเทศ ซัมเมอร์แคมป์ อังกฤษ อเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคนาดา เยอรมัน ทุกระดับชั้นเรียน

คำถามนี้นักเรียนและผู้ปกครองถามกันทุกปี ตอบกันทุกรุ่น ทุกอาชีพก็ต้องมีรายได้ครับ 555

Service charge no charge

 

ง่าย ๆ ครับ ก็เป็นหนึ่งในธุรกิจการบริการนะครับ ที่ตัวแทนและมหาลัยได้ทำสัญญาร่วมกันอย่างชัดเจนนะครับ มีสัญญากันเป็นหน้า ๆ ต้องปฏิบัติภายใต้กฎหมายของประเทศที่ตัวแทนทำสัญญาร่วมกัน

 

ก็ง่าย ๆ ค่าแรงค่าเหนื่อย  ค่าการตลาดในการประชาสัมพันธ์ ให้โรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยต่าง ๆ  หลักการแต่งตั้งตัวแทนในต่างประเทศจะนิยมใช้กันมากครับ เพื่อให้การทำงานเป็นเครือข่ายและราบรื่น บางครั้งการจ้างคนในพื้นที่ให้บริการคนในพื้นที่มันสะดวกในแง่การเข้าถึง  ยกตัวอย่าง เราจะถามเรื่องอะไรสักอย่าง การอีเมล์ไปถามคนต่างประเทศ กับการสอบถามคนในประเทศเดียวกันที่เป็นตัวแทน เราจะถามใครก่อน?  ก็ความรู้สึกเดียวกันที่เรารู้สึกว่าอยากยกหูโทรศัพท์คนในพื้นที่มากกว่าใช่มั้ยครับ   มหาวิทยาลัยก็ยกหน้าที่นี้ให้คนพื้นที่นั้น ๆ ในการนำเสนอมหาลัยดีกว่าครับ มีการเทรนนิ่งให้ตัวแทน ส่งอัพเดทต่าง ๆ และมีการประชุมประจำสม่ำเสมอ ตัวแทนก็ไปอธิบายนักเรียนโดยตรงต่อ  การทำงานก็ให้คนประเทศนั้น ๆ ทำงานแทน มันก็ดีในหลาย ๆ แง่  ดังนั้นเมื่อตัวแทนได้ค่าตอบแทนก็เป็นเรื่องปกติตามข้อกำหนด  นักเรียนก็ได้บริการความสะดวกสบายในเรื่องสำคัญคือข้อมูลของสถาบัน โรงเรียน หรือ มหาลัย  ก็สามวินครับ วินนักเรียน วินโรงเรียน วินตัวแทน คือก็ได้ประโยชน์ไปทั้งสามส่วน ผู้เขียนอธิบายง่าย ๆ วินวินวิน situation  (สามวินครับ)  ถ้าตัวเลือกโรงเรียนสถาบันนั้นคือตอบโจทย์ที่เราต้องการ  ด้านการศึกษามันคือการได้รับข้อมูล high quality information ถ้าเราได้ปรึกษาแล้วตอบโจทย์ของเรา ได้รับความรู้จากคนในวงการ ก็ทำให้สิ่งที่เราสับสนไม่เข้าใจก็ทำให้เข้าใจอย่างถูกต้องในที่สุดได้ครับ ถ้าไม่ได้เสียค่าใช้จ่ายอะไร ประโยชน์ชั่งแล้วก็ยังพอมีเห็นอยู่หลายประการ  ยกเว้นเสียแต่การคาดหวัง แต่ละคนไม่เท่ากัน อันนั้นจะคนละกรณีและวาระนะครับ แต่อย่าลืมว่าเราไม่ได้จ่ายค่าบริการใด ๆ ให้กับตัวแทนเพิ่ม ก็ยังบวกอยู่ครับ

 

สรุป ง่าย ๆ ตัวแทนก็ได้รับค่าตอบแทนจากมหาวิทยาลัย ถือว่าตัวแทนทำงานลงแรง ให้คำปรึกษากันระยะเวลา การปรึกษานักเรียนต่อหนึ่งคนนั้น อยากบอกว่า ลากยาวกันเป็นครึ่งปี หรือปีกว่า หรือต่อเนื่องยาวจนกว่านักเรียนจะจบ โดยเฉพาะนักเรียนเล็ก ๆ ยาวไปครับ (งานเอกสารจุ๊กจิ๊กหลักบ้านอีกเยอะพอควร)

 

ดังนั้น คำว่าตัวแทน เนี่ยแหละคำ ทำแทนให้ทั้งมหาวิทยาลัย แทนนักเรียน

 

แล้วทำไมบางที่มีคิดค่าบริการเพิ่ม

ถ้ามองภาพเริ่มออกจะเห็นชัดขึ้นแล้วนะครับว่า มีการลงแรงไปก่อน ให้คำปรึกษา ให้คำแนะนำ ดังนั้นไม่แปลกเลยครับที่จะมีบางที่ต้องการคิดค่าบริการเซอร์วิสเพิ่มไว้ก่อน ซึ่งก็เป็นไปตามนโยบายของแต่ละที่ครับ ผู้เขียนก็เข้าใจในหลักการธุรกิจของแต่ละที่นะครับ เพราะว่าเอาเข้าจริง ๆ บางคนมีความคาดหวังการบริการต่างกัน ระดับการช่วยเหลือที่ต้องการได้รับมากน้อยแตกต่างกันไป แต่ผู้เขียนบอกอย่างหนึ่ง การบริการนั้น 95% จะเกิดก่อนไปเริ่มเรียนครับ เช่น การสมัครเรียน การเลือกคอร์ส การทำวีซ่า การจองที่พัก การจองตั๋วเครื่องบิน การจ่ายค่าเทอมเหลือเพียงแค่น้อยกว่า 5% เท่านั้นที่จะมีหลังการทำเรื่องไปเรียน ซึ่งก็น้อยมาก ๆ แล้วครับ เพราะขั้นตอนสำคัญ ๆ อยู่ก่อนจะไปเริ่มเรียน พอเริ่มเรียนแล้วนักเรียนก็แทบไม่ต้องการช่วยเหลือใด ๆ มากครับ   ดังนั้นขั้นตอนที่ตัวแทนต้องลงแรง ลงเวลาให้ไปกับนักเรียนแต่ละคนนั้นเยอะพอสมควร ผู้ใช้บริการก็ต้องเข้าใจคนให้บริการอีกมิติ  ยกตัวอย่างเช่น ท่านไปขอข้อมูลติดต่อทีมงานเค้าช่วยเหลือติดต่อหมายถึงว่าตกลงใช้บริการเค้านะครับ (ไม่รวมถึงการตัดสินใจอยู่)  เจ้าหน้าที่ให้บริการก็ไปใช้เวลาทำงานค่อนข้างมาก ส่งข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ให้ สอบถามกันไปมา จนได้ข้อมูลตกผลึก แต่อาจจะอยู่ ๆ ไปสมัครตรงเอง สรุปคนทำงานก็คงมึน ๆ  ไปไม่ใช่น้อย  คือการบริการด้านนี้ความเสี่ยงมีสูงด้วยธรรมชาติ (ถ้าบางที่ไม่ได้คิดเงินก่อนใช้บริการนั้นเองครับ)

 

บางที่จึงอาจจะคิดค่าบริการไว้ก่อนเลยก็เป็นความเข้าใจได้ ไม่ได้แปลกอะไร เพราะว่าเค้าก็ต้องกันความเสี่ยงที่มีมากมายในปัจจุบัน ซึ่งลูกค้าก็มีมาหลากหลายรูปแบบจริง ๆ อันนี้ว่ากันไม่ได้  ธรรมชาติของการใช้บริการ ยิ่งแต่ละคนมาหลากหลายรูปแบบ ดังนั้น บางที่ก็ขอมัดจำเพื่อประกันความเสี่ยงของตัวเองที่ลงแรงการทำงานไปก่อน หลายอย่าง แต่บางที่เค้าก็จะคืนให้นะครับหลังทำวีซ่าทุกอย่างเสร็จกระบวนการ จบการบริการแบบสมบูรณ์ไม่ได้เปลี่ยนใจหรือเทเค้ากลางทาง ดังนั้นก็ไปดูที่บริบทนโยบายของแต่ละที่ว่าคิดหรือไม่คิด

 

อีกประเด็นน่าสนใจ ประกันความเสี่ยงไว้ครับ เช่น ตัวอย่าง อย่างประเทศอเมริกา ในระดับเรียนภาษา ด้วยกฎไม่ต้องจ่ายค่าเรียนได้ เพราะว่าต้องสัมภาษณ์ให้ผ่านก่อนถึงจะทำการจ่ายเงิน ดังนั้น ตัวแทนทำงานสมบุกสมบันช่วยกันไม่ว่าจะเป็นเอกสาร ซ้อมรบ เอ้ยซ้อมสัมภาษณ์ช่วยเหลือกันอย่างเต็มที่ สุดท้ายนักเรียนได้วีซ่าไม่จ่ายค่าเทอมสะงั้น ประมาณซิ่งวินหนีเข้าไปประเทศไปเลย ไม่กลับมา วิชากางร่มเหินเวหาได้คะแนนเต็ม ดังนั้นความซื่อสัตย์ที่มอบให้กันก็หายแวบไปเลย จุดประสงค์ในการขอไปเรียนดันเปลี่ยนไปอย่างอื่น มาแบบนี้ไม่เซ็ง ก็คงเป็นไปไม่ได้นะครับ เหนื่อยเสียใจกันไป  เจ็บจี๊ดเหมือนกันนะครับ เข้าใจครับ อกเค้าอกเรา

 

แต่ถ้าอย่างประเทศอื่น ๆ แต่ยังคิดค่าบริการ ถ้าคิดเงินก็ไปดูกันที่บริบทว่านักเรียนพอใจและโอเคมั้ยเพราะว่าตัวแทนมหาลัย หรือโรงเรียนนั้น ๆ อาจะไม่ได้มีที่เดียว  ก็เหมือนซื้อรถ จะดูโชว์รูมไหนรถก็ยี่ห้อเดียวกันรุ่นเดียวกันที่แสดงโชว์ครับ แต่ อยู่ที่ว่าพอใจกับการบริการด้านข้อมูลมั้ย สะดวกใกล้บ้าน ได้ของแถม ได้ฟังชันอะไร บางที่ซื้อรถยี่ห้อนี้เพราะว่าถูกใจโปร หรือว่าพอใจกับพนักงานก็ว่ากันไปครับ แนะนำว่าดูหลาย ๆ ที่ แล้วเปรียบเทียบความพึ่งพอใจตามวิจารณาณของแต่ละคน

หวังว่าจะเนื้อหานี้จะช่วยสร้างความเข้าใจอันดี และคลายความสงสัยสำหรับนักเรียนผู้ปกครองไปบ้างนะครับ