LAIS ศูนย์วางแผนเรียนต่อต่างประเทศ ซัมเมอร์แคมป์ อังกฤษ อเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคนาดา เยอรมัน ทุกระดับชั้นเรียน

ในกรณีนี้ขอเอ่ยถึงโรงเรียนประจำในต่างประเทศ อายุเท่าไหร่นั้นแท้จริงแล้วทฤษฎีว่า ยิ่งเล็กก็ยิ่งได้ประโยชน์ ยิ่งเพิ่มโอกาส หรืออยากให้ลูกเราเป็นอย่างไรต้องเติมปุ๋ยในช่วงเล็กๆ ให้รากแข็งแรงนั้นเอง

 

study abroad

 

แต่สำหรับการไปเรียนในโรงเรียนเอกชนโดยเฉพาะโรงเรียนประจำนั้น ผู้ปกครองพิจารณาเรื่องของการเงินในการวางแผนอันดับแรก หากไม่ได้มีปัญหาเรื่องนี้ แน่นอนการส่งลูกเข้าสถานศึกษาอย่างน้อยสองปีก่อนเข้ามหาวิทยาลัย ยิ่งหากต้องการเรียนต่อปริญญาในประเทศนั้น ๆ โอกาสนั้นแทบจะสูงมาก เหมือนมีประตูหลายบานให้เลือกนั้นเอง ซึ่งจะเห็นได้จากสถิติจำนวนนักเรียนที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยที่ติดท๊อปบน ๆ มีถึงเกือบ 90% เลยทีเดียว  โดยเฉพาะอย่างยิ่งมหาวิทยาลัยในฝันในอังกฤษอย่าง Oxford , Cambridge (Oxbridge)  ถึงแม้ว่าการแข่งขันนั้นจะมีสูง แต่โรงเรียนประจำในอังกฤษส่วนใหญ่นั้นจะมีเจ้าหน้าที่ หรือศิษย์เก่าที่จะช่วยเหลือนักเรียนในการสมัคร ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมตัวสัมภาษณ์ หรือคอนเนคชั่นต่าง ๆ ที่ตัวโรงเรียนมี แม้เราจะรู้ว่ามหาลัยระดับโลกอย่าง Oxbridge นั้น ในโลกความเป็นจริง จะไม่ได้แหมาะสมกับทุก ๆ คน แต่อย่าลืมว่ามหาวิทยาลัยอังกฤษนั้นมีมากกว่าเป็นร้อยมหาวิทยาลัยที่ดี ๆ และอีกกว่าพันกว่าสาขาวิชาที่มีให้เลือก 

 

ดังนั้น ถ้าผู้ปกครองไม่ได้ติดเรื่องของสภาพการเงิน แล้วนั้น อายุเท่าไหร่ไม่ใช่ปัจจัย แต่หากจะให้แนะนำ ช่วง Year 8 (อายุ 12 ปี) เป็นต้นไปสำหรับนักเรียนไทยนี้ถือว่าเป็นอายุที่เริ่มพอรู้เรื่อง และช่วยเหลือตัวเองได้ในระดับดีขึ้น และเป็นวัยที่รับรู้ได้เร็ว ซึ่งเล็กกว่านี้โดยธรรมชาติผู้ปกครองคนไทยก็ยังอยากใช้ชีวิตดูแลใกล้ชิดกับลูก ๆ อยู่ 

 

ข้อดีจะสังเกตว่าเวลาที่เราส่งลูกไปเรียนในระดับเล็ก เด็กจะปรับตัวได้ไวกว่าเด็กโต การเจริญเติบโตไปพร้อม ๆ กับนักเรียนอังกฤษ วิ่งเล่นด้วยกัน ทำกิจกรรมตั้งแต่เล็กไปจนโตนั้น จะมีช่องว่างทางสังคมน้อยนั้นเอง เช่น ผู้ปกครองบางคนจะลืมนึกไปว่าช่วงวัยที่โตไปด้วยกันช่องว่างระหว่างสังคมนั้นจะสั้นเด็ก ๆ จะไม่มีทัศนคติเรื่องต่างชาติ  ช่องเรื่องของชาติ ผิวสี หรือ ภาษาง่าย ๆ การเก๊กใส่กันในช่วงวัยรุ่นที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ความรู้สึกเหล่านี้มันจะชัดเจนในช่วงวัยรุ่น แต่เด็กแทบจะไม่มีเลย ถ้าเรามองลึกลงจะเห็นได้ว่าเวลาที่นักเรียนเข้าไปตั้งแต่เล็กแล้วเรียนโรงเรียนเดียวกันจนโต จะทำให้ความสัมพันธ์ตรงนี้แน่นหนามากกว่า แต่อย่างไรก็ดี ก็ขึ้นอยู่สถานะทางการเงินของผู้ปกครองด้วยนั้นเอง 

 

ตารางระบบการศึกษาในอังกฤษอย่างย่อ 

Year 8 (ม.1)

Key stage 3

Year 9 (ม.2)

Key stage 3

Year 10 (ม.3)

GCSE

Year 11 (ม.4)

GCSE

Year 12 (ม.5)

A Level

Year 13 (ม. 6)

A Level

 

จากตารางจะสังเกตว่า เมื่อเริ่มขึ้น Year 10 วิชาเรียนจะเริ่มเฉพาะขึ้นซึ่งการเข้าเรียนในช่วงนี้ วิชาจะต่อเนื่องจาก Year 10 ไป Year 11 และเมื่อเริ่มเข้าระดับ A Level วิชาที่เรียนก็จะเหลือเพียงแค่สามหรือสี่วิชาที่ตรงกันกับในระดับปริญญาตรีต่อ ไป เช่น วางแผนเรียนหมอ วิชาในระดับ A Level ก็จะสัมพันธ์กัน เช่นอาจจะเรียน ฟิสิคส์ เคมี คณิต หรือชีวะ  ดังนั้นเมื่อพิจารณาส่วนใหญ่ก็แนะนำให้ผู้ปกครองได้เตรียมตัวนักเรียนเนิ่น จะเข้าเรียน Year 9 ก็ถือว่านักเรียนได้เตรียมตัวปรับตัวเองก่อนหนึ่งปีก่อนจะเริ่มเข้าสู่ระบบ GCSE

 

มีข้อแนะนำเพิ่มเติมว่า ถ้ามองเส้นทางการศึกษาว่าอยากส่งลูกเรียนในระดับปริญญาตรีในอังกฤษ แนะนำว่าเรียนมัธยมที่อังกฤษก่อนอย่างน้อยสองปี และข้อควรรู้ว่าในมหาวิทยาลัยท๊อปๆ จะไม่รับวุฒิแบบ Foundation Year นักเรียนต้องส่งผลคะแนนตามระบบการศึกษาในระดับมัธยมปลายอย่าง A Level หรือ IB ในบางที่ ถ้าหากว่าลูกเป็นเด็กฉลาดมาก ๆ แล้วละก็ และจุดมุ่งหมายคือการเข้ามหาลัยอย่าง Oxbridge ก็สมควรอย่างยิ่งที่จะเตรียมตัวตั้งแต่ระดับมัธยมอย่างน้อยก็สองปีสุดท้ายก่อนเข้าระดับมหาวิทยาลัยนั้นเอง โอกาสที่นักเรียนจบในระดับมัธยมปลายในประเทศจึงมีเยอะและได้เปรียบมากกว่านั้นเอง

 

ปรึกษาเรียนต่อมัธยมโรงเรียนประจำอังกฤษ ได้ที่ศูนย์วางแผนเรียนต่อต่างประเทศ The Lion Academy of International Studies

TEL: 020749020

Line official account: @thelionacademy