ควรส่งลูกเรียนต่างประเทศอายุเท่าไหร่
ในกรณีนี้ขอเอ่ยถึงโรงเรียนประจำในต่างประเทศ อายุเท่าไหร่นั้นแท้จริงแล้วทฤษฎีว่า ยิ่งเล็กก็ยิ่งได้ประโยชน์ ยิ่งเพิ่มโอกาส หรืออยากให้ลูกเราเป็นอย่างไรต้องเติมปุ๋ยในช่วงเล็ก ๆ ให้รากแข็งแรงนั้นเอง แต่สำหรับการไปเรียนในโรงเรียนเอกชนโดยเฉพาะโรงเรียนประจำนั้น ผู้ปกครองพิจารณาเรื่องของการเงินในการวางแผนอันดับแรก หากไม่ได้มีปัญหาเรื่องนี้ แน่นอนการส่งลูกเข้าสถานศึกษาอย่างน้อยสองปีก่อนเข้ามหาวิทยาลัย ยิ่งหากต้องการเรียนต่อปริญญาในประเทศนั้น ๆ โอกาสนั้นแทบจะสูงมาก เหมือนมีประตูหลายบานให้เลือกนั้นเอง ซึ่งจะเห็นได้จากสถิติจำนวนนักเรียนที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยที่ติดท๊อปบน ๆ มีถึงเกือบ 90% เลยทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งมหาวิทยาลัยในฝันในอังกฤษอย่าง Oxford , Cambridge (Oxbridge) ถึงแม้ว่าการแข่งขันนั้นจะมีสูง แต่โรงเรียนประจำในอังกฤษส่วนใหญ่นั้นจะมีเจ้าหน้าที่ หรือศิษย์เก่าที่จะช่วยเหลือนักเรียนในการสมัคร ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมตัวสัมภาษณ์ หรือคอนเนคชั่นต่าง ๆ ที่ตัวโรงเรียนมี แม้เราจะรู้ว่ามหาลัยระดับโลกอย่าง Oxbridge นั้น ในโลกความเป็นจริง จะไม่ได้แหมาะสมกับทุก ๆ คน แต่อย่าลืมว่ามหาวิทยาลัยอังกฤษนั้นมีมากกว่าเป็นร้อยมหาวิทยาลัยที่ดี ๆ และอีกกว่าพันกว่าสาขาวิชาที่มีให้เลือก
ดังนั้น ถ้าผู้ปกครองไม่ได้ติดเรื่องของสภาพการเงิน แล้วนั้น อายุเท่าไหร่ไม่ใช่ปัจจัย แต่หากจะให้แนะนำ ช่วง Year 8 เป็นต้นไปสำหรับนักเรียนไทยนี้ถือว่าเป็นอายุที่เริ่มพอรู้เรื่อง และช่วยเหลือตัวเองได้ในระดับดีขึ้น และเป็นวัยที่รับรู้ได้เร็ว ซึ่งเล็กกว่านี้โดยธรรมชาติผู้ปกครองคนไทยก็ยังอยากใช้ชีวิตดูแลใกล้ชิดกับลูก ๆ อยู่
ข้อดีจะสังเกตว่าเวลาที่เราส่งลูกไปเรียนในระดับเล็ก เด็กจะปรับตัวได้ไวกว่าเด็กโต การเจริญเติบโตไปพร้อม ๆ กับนักเรียนอังกฤษ วิ่งเล่นด้วยกัน ทำกิจกรรมตั้งแต่เล็กไปจนโตนั้น จะมีช่องว่างทางสังคมน้อยนั้นเอง เช่น ผู้ปกครองบางคนจะลืมนึกไปว่าช่วงวัยที่โตไปด้วยกันช่องว่างระหว่างสังคมนั้นจะสั้นเด็ก ๆ จะไม่มีทัศนคติเรื่องต่างชาติ ช่องเรื่องของชาติ ผิวสี หรือ ภาษาง่าย ๆ การเก๊กใส่กันในช่วงวัยรุ่นที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ความรู้สึกเหล่านี้มันจะชัดเจนในช่วงวัยรุ่น แต่เด็กแทบจะไม่มีเลย ถ้าเรามองลึกลงจะเห็นได้ว่าเวลาที่นักเรียนเข้าไปตั้งแต่เล็กแล้วเรียนโรงเรียนเดียวกันจนโต จะทำให้ความสัมพันธ์ตรงนี้แน่นหนามากกว่า แต่อย่างไรก็ดี ก็ขึ้นอยู่สถานะทางการเงินของผู้ปกครองด้วยนั้นเอง
มีข้อแนะนำเพิ่มเติมว่า ถ้ามองเส้นทางการศึกษาว่าอยากส่งลูกเรียนในระดับปริญญาตรีในอังกฤษ แนะนำว่าเรียนมัธยมที่อังกฤษก่อนอย่างน้อยสองปี และข้อควรรู้ว่าในมหาวิทยาลัยท๊อปๆ จะไม่รับวุฒิแบบ Foundation Year นักเรียนต้องส่งผลคะแนนตามระบบการศึกษาในระดับมัธยมปลายอย่าง A Level หรือ IB ในบางที่ ถ้าหากว่าลูกเป็นเด็กฉลาดมาก ๆ แล้วละก็ และจุดมุ่งหมายคือการเข้ามหาลัยอย่าง Oxbridge ก็สมควรอย่างยิ่งที่จะเตรียมตัวตั้งแต่ระดับมัธยมอย่างน้อยก็สองปีสุดท้ายก่อนเข้าระดับมหาวิทยาลัยนั้นเอง โอกาสที่นักเรียนจบในระดับมัธยมปลายในประเทศจึงมีเยอะและได้เปรียบมากกว่านั้นเอง...
เลือกโรงเรียนประจำอังกฤษอย่างไรให้เหมาะสมกับลูก?
จุดแข็งอย่างหนึ่งในระบบการศึกษาในโรงเรียนประจำอังกฤษคือด้านวิชาการที่แข็งแรง และมีจำนวนนักเรียนในห้องที่เล็ก สัดส่วนจะอยู่ราว ๆ นักเรียน 9 คนต่อครูหนึ่งคน และถ้าโตขึ้นไปในระดับซีเนียร์อย่าง A Levels ก็จะเริ่มน้อยลงไปอีก ในการเลือกพิจารณาโรงเรียนที่เหมาะสมกับลูกเรา ผู้ปกครองพ่อแม่ต้องระลึกไว้ว่า ในโรงเรียนประจำอังกฤษ โครงสร้างระบบจะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ
- โรงเรียนที่มีระบบสอบคัดเลือกคือที่เรียกว่า Selective โรงเรียนประเภทนี้จะมีการคัดเลือกนักเรียนที่ค่อนข้างมาก และมีการสอบ ซึ่งจะมีข้อสอบในการสอบเข้าที่ยากขึ้นตามระดับ และแน่นอนปฏิเสธไม่ว่าโรงเรียนกลุ่มเหล่านี้จะรับนักเรียนที่มีผลคะแนนการเรียนที่ท๊อปๆ เข้ารับการศึกษา
- และระบบที่สองเป็นระบบ Non-selective คือ เป็นโรงเรียนที่รองรับนักเรียนที่ฐานกว้างมากขึ้น มีความยืดหยุ่น หรือพูดง่าย ๆ ว่าตอบรับความสามารถของนักเรียนที่มากกว่านั้นเอง และอาจจะไม่มีการสอบคัดเลือกเข้าเรียน ไม่ต้องทำการสอบนั่นเอง
ดังนั้น การเลือกโรงเรียนให้บุตร ควรพิจารณาจากความสามารถของเด็กเป็นหลัก เหมาะสมกับคาแรคเตอร์ของเค้า เด็กมีความสามารถไปทิศทางไหน เค้าเหมาะในการดูแลอย่างไร แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้ปกครองมั่นใจได้คือ โรงเรียนประจำอังกฤษนั้นล้วนแล้วมีทักษะการสอนที่ดีมีคุณภาพไม่น้อยไปกว่ากัน ถึงแม้ว่าโรงเรียนนั้น ๆ จะเป็นแบบ non-selective นักเรียนจะได้รับคุณภาพการเรียนการสอบที่ดีเสมอกัน ส่วนค่าเทอมที่แพงไม่ได้เป็นตัวดัชนีชี้นำว่าโรงเรียนนั้น ๆ ดีกว่าหรือน้อยกว่า จริง ซึ่งความจริงนั้น ในเรื่องของค่าเทอมในโรงเรียนประจำอังกฤษ มีข้อมูลที่กำหนดลึกลงไปอีกมาก สามารถอ่านเพิ่มเติมข้อแนะนำในการเลือกโรงเรียนมีปัจจัยอะไรเพิ่มเติมได้ที่ https://www.laisinterstudy.com/blog/10-ข้อหลักในการเลือกโรงเรียนประจำในอังกฤษข้อหลักในการเลือกโรงเรียนประจำในอังกฤษข้อหลักในการเลือกโรงเรียนประจำในอังกฤษ
A daily routine ชีวิตประจำวันในหนึ่งวันทำอะไรกันบ้าง?
สำหรับนักเรียนที่อยู่ในโรงเรียนประจำนอกจากในห้องเรียนแล้ว กิจกรรมไม่ว่าจะเป็นดนตรีกีฬา หรือแม้ทริปต่างๆ นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง ส่วนใหญ่นักเรียนจะได้ออกไปทำกิจกรรมร่วมกันในช่วงสุดสัปดาห์ และวันอาทิตย์ก็จะพักผ่อน ลองมาดูตัวอย่าง เดลี่รูทีนที่นักเรียนประจำต้องทำกันมีอะไรบ้าง
Morning | |
| ตื่นนอน |
| อาบน้ำ แต่งตัว จัดเก็บที่นอน |
| รับประทานอาหารเช้า |
| ทานอาหารเช้าให้เสร็จไม่เกิน 7.50 น. |
| เช็คชื่อ/ รวมพลกันที่จุดนัดต่าง ๆ ตามที่กำหนด |
| เริ่มเรียนคาบแรก |
| เริ่มเรียนคาบที่ สอง |
| พักเบรค |
| เริ่มเรียนคาบที่ สาม |
| เริ่มเรียนคาบที่ สี่ |
Afternoon | |
| รับประทานอาหารกลางวัน |
| เช็คชื่อลงทะเบียน |
| เริ่มเรียนคาบที่ ห้า |
| เริ่มเรียนคาบที่ หก |
| เริ่มเรียนคาบที่ เจ็ด |
| เลิกเรียน นักเรียนไปกลับ กลับบ้านได้ / ส่วนนักเรียนประจำก็กลับไปเปลี่ยนเสื้อผ้า ชุดลำลองสบาย ๆ ได้ |
| นักเรียนประจำรวมตัวกันที่ห้องอาหาร ทานของว่าง ชา กาแฟ ต่าง ๆ |
| กิจกรรมตอนเย็นสำหรับเด็กเล็ก |
| กิจกรรมตอนเย็นสำหรับเด็กโต |
| รับประทานอาหารเย็นสำหรับเด็กเล็กที่ห้องอาหาร |
| รับประทานอาหารเย็นสำหรับเด็กโตที่ห้องอาหาร |
| พักผ่อนตามอัธยาศัย หรือเค้าไปร่วมสังสรรคกับเพื่อน ๆ หรือสามารถเข้าร่วมกิจกรรมดนตรี เต้นรำ กีฬาต่าง ๆ |
| เช็คชื่อ สำหรับเด็กเล็ก |
| เช็คชื่อสำหรับนักเรียนโต |
| เข้านอน ไม่ส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่นและช่วงเวลาอ่านหนักสือ สำหรับเด็ก |
| เข้านอน ไม่ส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น และอ่านหนงสือ สำหรับนักเรียน ช่วง GCSE |
| นักเรียนโตมัธยมปลายสามารถเข้านอนเวลานี้จะดึกกว่า ไม่ส่งเสียงดัง และทบทวนอ่านหนังสือ |
ส่วนในช่วงเสาร์ อาทิตย์ ก็จะมีกิจกรรมหมุนเวียนกันไป ไม่ว่าจะเป็นกีฬา ดนตรี หรือออกไปทัศนศึกษาข้างนอก หรือในบางช่วงของเดือนโรงเรียนจะมีกิจกรรมจัดเดินทางแคมปปิ้งต่าง ๆ ส่วนในวันอาทิตย์ส่วนใหญ่นักเรียนก็จะพักผ่อนอยู่ในโรงเรียน สำหรับการออกนอกห้องเรียนไปซื้อของเล็ก ๆ น้อย ๆ จะได้รับอนุญาตจากครูผู้ดูแลเท่านั้น
คำศัพท์น่ารู้ที่ใช้ในโรงเรียนมัธยม
Exeat: คำนี้จะหมายถึงช่วงเวลาวันหยุดสุดสัปดาห์ รวมถึงวันศุกร์ หรือ วันจันทร์ ซึ่งนักเรียนที่อยู่ประจำจะสามารถกลับบ้านได้ใจช่วงเทอมเวลานี้
Full Boarding: เป็นโรงเรียนที่อนุญาติให้นักเรียนอยู่ในโรงเรียนได้ตลอดทั้งเทอมรวมถึงช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ จะมีเฉพาะเวลาช่วงที่ Exeats ที่จะกลับบ้านหรืออยู่กับ Guardians
Headmaster/Headmistress: คือคนที่ดูแลโรงเรียน บ้านเราก็ประมาณครูใหญ่ ซึ่งเป็นคนที่มีประสบการณ์ในการสอนหลายปี
Houseparent or housemaster, housemistress: เป็นเจ้าหน้าที่ที่ดูแลรับผิดชอบในส่วนของ Boarding house และมอบหมายงานต่าง ๆ เช่น ติวเตอร์ การสะอาดให้กับเจ้าหน้าที่ดูแล
Matron: คือบุคคลที่ดูลด้านความสะอาด สุขอนามัย ให้กับนักเรียนประจำ
Preparatory School: คือโรงเรียนเปิดรับนักเรียน สำหรับนักเรียนอายุระหว่าง 7 และ 13 ปี
Senior School: นักเรียนอายุระหว่าง 11 และ 18 สามารถเข้าเรียนในระดับ senior school แต่หลายโรงเรียนเปิดระดับ junior departments สำหรับเด็ก 7 ขวบ หรือ เล็กกว่านั้นเช่นกัน
Sixth form: คือช่วงอายุ 16-18 ปี หรือการเรียนใน 2 ปีสุดท้ายในระดับมัธยมปลายนั้นเอง เพื่อการสอบระดับ A Levels หรือเทียบเท่า
กฎระเบียบวินัยในโรงเรียนเอกชนอังกฤษ
Schools are not prison! ในยุโรปออกกฎหมายยกเลิกการลงโทษเด็กนักเรียน ซึ่งหลักฐานพบว่า โปแลนด์เป็นประเทศแรกที่ออกกฎหมายนี้ตั้งแต่ปี ค.ศ 1783 หรือประมาณ 237 ปีมาแล้ว ในประเทศอังกฤษการทำโทษนักเรียนทางร่างกายผิดกฎหมายมาตั้งแต่ในปี 1987 และประเทศอื่นในยุโรปทั้งหมดในเวลาต่อมา ในสมัยก่อนมีข้อถกเถียงเรื่องบทลงโทษ ผู้ที่ให้การสนับสนุนการลงโทษคิดว่านักเรียนจะมีการตอบสนองทันที และกลับมาเรียนรู้ในห้องเรียนได้อย่างรวดเร็ว แต่เสียงค้านให้ความเห็นว่า การลงโทษทางร่างกาย นอกจากจะไม่มีประสิทธิภาพในระยะยาว ยัง ขัดขวางการเรียนรู้นำไปสู่พฤติกรรมต่อต้านทาง สังคมรวมทั้งทำให้เกิด low self- esteem และความทุกข์ทางจิตใจในรูปแบบอื่น ๆ และเป็นรูปแบบของความรุนแรงที่ละเมิดสิทธิของเด็ก จึงเห็นได้ว่าการกระทำต่อเด็กนักเรียนถือเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายมานมนานในประเทศตะวันตก
ในประเทศอังกฤษ ชาวบริติชเองเลือกส่งลูกเรียนในโรงเรียนเอกชนมีหนึ่งในหลาย ๆ เหตุผล หนึ่งในนั่นเชื่อว่าระเบียบวินัยในโรงเรียนเอกชนดีกว่าโรงเรียนรัฐนั้นเอง รูปแบบระเบียบวินัยที่เข้มข้นและมาตรฐานสูง หากนักเรียนทำผิดกฎต่าง ๆ จะมีการลงโทษหรือไม่อย่างไร
คำตอบ มีครับ แต่การลงโทษไม่ใช่รูปแบบการทำโทษทางด้านร่างกาย ปัจจุบันรูปแบบในโรงเรียนประจำอังกฤษจะมีกฎระเบียบวินัย 5 ลำดับขั้นตอน
1. Detention กักบริเวณ เช่นนักเรียนต้องอยู่ใน ร.ร. เลิกเย็นกว่าปรกติ ทำงานพิเศษ
2. House-gating ไม่อนุญาตให้ออกจากห้อง (ร.ร. ประจำ) เป็นเวลาหนึ่ง ยกเว้นเข้าห้องเรียนและทานอาหาร
3. On report ถือสมุดรายงานความประพฤติ และคุณครูทุกคนจะต้องรายงานพฤติกรรมทุก ๆ วิชา
4. Suspension พักการเรียน ถูกส่งตัวกลับบ้านหรือผู้ปกครอง ในระยะเวลาหนึ่งตามแต่ ร.ร. กำหนด
5. Exclusion ขั้นสุดท้ายคือ การให้ออก และหาโรงเรียนใหม่
สังเกตุว่าขั้นตอนแรกหากนักเรียนกระทำผิด โรงเรียนจะมีการพูดคุยกับนักเรียนก่อนเกี่ยวกับปัญหา ถามคำถามเช่น สาเหตุ ทำไม และคิดอะไรในตอนกระทำความผิด สิ่งเหล่านี้มีผลกระทบต่อคนอื่นอย่างไร รู้สึกอย่างไร ควรขอโทษหรือไม่ และเหตุการณ์แบบนี้จะไม่เกิดขึ้นอีกใช่มั้ย เพื่อให้นักเรียนได้รับรู้ปัญหาและแก้ไขจากการพูดคุยและรับฟัง รูปแบบของการรับฟังและแก้ไขปัญหาให้ถูกต้องทำให้นักเรียนสามารถพัฒนาปรับปรุงพฤติกรรมในอนาคตที่ดีได้
แต่หากกรณีที่พฤติกรรมนั้นยังไม่ได้ดีขึ้น ขั้นตอนต่อไปก็จะมีการประชุมพูดคุยกับผู้เกี่ยวข้องในจำนวนที่มากขึ้นตั้งแต่คุณครูประจำชั้น ครูที่ดูแล The house master or mistress จนถึงระดับอาวุโสอย่างครูใหญ่ หากพฤติกรรมนั่นเกี่ยวข้องด้านความรุนแรง เหล้า การเข้าไปหอพักต่างเพศ หรือแม้กระทั่ง ยาเสพติด การทำโทษจะเพิ่มระดับขึ้น การพักการเรียน หรือให้ออก ด้วยรูปแบบของวินัยที่สูงในโรงเรียนประจำ นักเรียนทุกคนจะได้รับการดูแลโดยเฉพาะแต่ละบุคคล และส่วนมากนักเรียนจะมาจากแบคกราวด์ครอบครัวที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาที่ดี และเชื่อในเรื่องของพฤติกรรมที่ดี ดังนั้นนักเรียนจะมีความเข้าใจบนพื้นฐานที่ดี หากกระทำผิดการตักเตือนอยู่ในพื้นฐานที่นักเรียนคาดหวังได้ไม่ยาก และจะไม่กระทำต่อบุคคลอื่น หรือทำให้โรงเรียนเสื่อมเสียชื่อเสียง ดังนั้นเป็นที่น่าสังเกตว่า นักเรียนในโรงเรียนประจำอังกฤษจะมีความเข้าใจในเรื่องความเป็นสุภาพบุรุษ การให้เกียรติกับบุคคลอื่นและสังคม หรือวินัยที่ค่อนข้างปลูกฝังอย่างมีนัยยะสำคัญ ที่ทำให้บุคลิกภาพของนักเรียนมีความคล้ายกันในเรื่องเหล่านี้เกือบ ๆ ทุกโรงเรียนส่วนใหญ่
ระบบการตรวจสอบคุณภาพการเรียนในโรงเรียนอังกฤษ
โรงเรียนทุก ๆ โรงเรียนในประเทศอังกฤษนั้นจะถูกการตรวจสอบจากองค์กรกลางหรือที่เรียกว่า Inspector “ผู้ตรวจการ” เกือบทุกโรงเรียนประจำในอังกฤษจะถูกตรวจสอบโดย ISI หรือ The Independent Schools Inspectorate ซึ่งจะถูกตรวจสอบเป็นประจำทุก ๆ 6 ปี และตรวจสอบที่พักเป็นประจำทุก ๆ 3 ปี และอีกองค์หนึ่งมีชื่อเรียกว่า OFSTED The Office for Standards in Education, Children’s Services and Skills
การตรวจสอบนี้ถือเป็นสาระสำคัญอย่างยิ่งของโรงเรียน และมีรายละเอียดค่อนข้างมาก เช่น คุณภาพการศึกษา ซึ่งก็จะมีรายละเอียดแปลกย่อยลงมาอีก ทัศนคติและพฤติกรรม การพัฒนาตัวบุคคล รวมถึงการบริหารงานของโรงเรียน ซึ่งทำให้เจ้าหน้าที่โรงเรียนทุกคนต้องเตรียมตัวและใช้เวลาในการรายงานต่อองค์กรสำหรับแต่ละครั้งที่มีการตรวจสอบ ผลการรายงานของโรงเรียนจะถูกรายงานลงบนเว๊ปไซต์ของโรงเรียน และสาธารณะรวมถึงองค์กรตรวจสอบของทั้งสองแห่งนี้ด้วย สังเกตได้ว่าทุก ๆ เว๊ปไซต์ของโรงเรียนประจำในอังกฤษจะมีรายละเอียดข้อมูลนี้ประชาสัมพันธ์ถึงคุณภาพว่าผ่านการตรวจสอบ ว่าโรงเรียนนั้น ๆ ต้องมีการปรับปรุงอะไรอย่างไร มีจุดแข็งอย่างไร ซึ่งเป็นข้อมูลชีวัดได้เป็นอย่างดี หรือในการเลือกโรงเรียนให้บุตรหลานนั้นเอง
การตรวจสอบโดยองค์กรกลางนี้เองทำให้โรงเรียนทุก ๆ แห่งในประเทศอังกฤษต้องรักษาคุณภาพ ซึ่งเป็นเครื่องวัดผลให้กับผู้ปกครองในการสร้างความน่าเชื่อถือ และเป็นเครื่องหมายยืนยันว่าโรงเรียนดังกล่าวนั้นได้รับการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอนั่นเอง
ราคาค่าเทอมโรงเรียนประจำอังกฤษ ควรเตรียมการเงินเท่าไหร่?
ปฏิเสธไม่ได้ว่าค่าเทอมโรงเรียนประจำในอังกฤษนั้นไม่ถูก ถึงแม้ว่าค่าเทอมในโรงเรียนจะมีฐานที่ต่างกันไป แม้ช่องระหว่างโรงเรียนที่ค่าเทอมแพง และถูกจะมีอยู่หลากหลาย แต่ก็ไม่ใช่ว่าผู้ปกครองทุกคนจะส่งบุตรหลานเข้าไปเรียนได้ในค่าเทอมของโรงเรียนที่ว่าราคาไม่แพงได้เช่นกัน แท้จริงแล้วตัวค่าเทอมในโรงเรียนประจำไม่ได้เป็นตัววัดถึงคุณภาพ ว่าโรงเรียนแพงจะดีกว่าโรงเรียนถูกกว่าแต่อย่างไร แต่เพราะว่าปัจจัยการกำหนดค่าเทอมในอังกฤษยังมีเรื่องของหลักเศรษฐกิจในเมือง นั่นๆ รวมถึงสถานที่ตั้งระหว่างเมืองใหญ่ หรือ เมืองต่างจังหวัดที่ห่างไกลออกไป ยกตัวอย่างเช่น
โรงเรียน A ตั้งอยู่ในเขตใกล้เมืองใหญ่ ภายในเมืองนั้นมีประชากรถึง 2 ล้านคน และมีผู้คนที่มีความมั่งคั่งร่ำรวยอาศัยอยู่ ดังนั้นโรงเรียน A จึงเป็นที่ต้องการสำหรับคนในเมืองนั้นอย่างสูง ทำให้โรงเรียน A สามารถเพิ่มราคาค่าเทอมได้อย่างต่อเนื่องนั้นเอง ในขณะที่ โรงเรียน B ตั้งไกลออกไป อยู่ชานเมืองเล็ก ๆ อาจจะมีประชากรอาศัยอยู่เพียงแค่ 20,000 คน ประชากรอาจจะไม่ได้มั่งคั่งร่ำรวยอะไร ด้วยเหตุผลนี้ โรงเรียนจึงมีความจำเป็นต้องรักษาค่าเทอมไว้เพื่อให้คนท้องถิ่นในเมืองนั้นได้ส่งบุตรหลานเข้าเรียนได้ด้วยเช่นกัน
‼️อย่าลืมว่า ผลการเรียนของนักเรียนทั้งสองที่มีความเหมือนกันได้เช่นกัน เรียนได้ดีเหมือนกัน ด้วยเหตุผลหลักที่ว่า ชาวอังกฤษที่แท้จริงนั้นความฝันของพวกเค้าคือการได้ออกจากเมืองหลวง และอาศัยอยู่ต่างจังหวัดที่สวยงาม บ้านราคาถูกกว่า สังคมดีกว่า บรรยากาศดีกว่า ดังนั้น ครูหลาย ๆ คนนิยมที่จะทำงานในต่างจังหวัดและอยู่กับครอบครัวหลีกหนีจากความวุ่นวาย ด้วยเหตุผลนี้ จึงเป็นปัจจัยให้โรงเรียนในต่างจังหวัดสามารถดึงดูดครูเก่ง ๆ ให้มาสอนที่โรงเรียนได้ไม่ว่าจะโรงเรียนแพงหรือไม่แพง เราจึงเห็นคนอังกฤษแท้จริง ๆ มีการศึกษาดี ๆ อยู่ตาม Countryside เยอะมาก ๆ
ค่าเทอมแพงอยู่ในระดับไหน?
ค่าเทอมที่ถือว่าอยู่ในระดับสูง จะอยู่ราว ๆ ที่ 14, 000 ปอนด์ขึ้นไปต่อเทอม (มี 3 เทอมต่อปี) อยู่ประมาณ 1.6 ล้านต่อปี ส่วนที่ว่าไม่แพงจะอยู่ในระดับ 9,000 ปอนด์ต่อเทอม ซึ่งอยู่ราว ล้านต้นๆ ต่อปี ซึ่งโรงเรียนส่วนใหญ่ที่ถูกกว่าโรงเรียนแพงอยู่ประมาณ 64% นั้นเอง ดังนั้นการเลือกผู้ปกครองไม่ควรสมมติฐานว่าโรงเรียนถูกนั้นจะด้อยกว่าโรงเรียนแพงแต่อย่างไร แต่โรงเรียนเหล่านั้นมีแบคกราวน์ที่แตกต่างกัน รวมถึงสภาพเศรษฐกิจในสังคมเมืองนั้น ๆ ซึ่งผู้ปกครองควรคำนึกถึง Value ของโรงเรียนนั้น ๆ และปัจจัยอื่น ๆ ที่เหมาะสมกับคุณสมบัติของลูกเราเป็นเหตุผลสำคัญ แต่สิ่งหนึ่งที่เชื่อถือได้เกือบทุกโรงเรียนคือคุณภาพของการศึกษาเกือบทุกโรงเรียนประจำเอกชนในอังกฤษนั้น มีคุณภาพที่เท่าเทียมกันนั้นเอง ลองมาดูตัวอย่างค่าเทอมโรงเรียนที่มีอายุมากกว่าร้อยปี จนถึงพันปีกันว่ามีอัตราเรทอยู่ในระดับใด
ตัวอย่างชื่อโรงเรียนเก่าแก่อังกฤษจาก ค.ศ 597- 1900 ค่าเทอมต่อปี ซึ่งในหนึ่งปีการศึกษาจะมี 3 เทอม ดังนั้นหากคำนวนภาพรวมค่าเทอมจะเริ่มราว ๆ ล้านต้น ๆ ถึง 1.7 ล้านต่อปี
No | School | Established | อายุมากกว่า/ปี | Amount/ Term |
1 | The King's School, Canterbury | 597 | 1423 | £14,420.00 |
2 | Hereford Cathedral School | 676 | 1384 | £14,445.00 |
3 | Ruthin School | 1284 | 736 | £13,500.00 |
4 | Winchester College | 1382 | 638 | £13,903.00 |
5 | Sevenoaks School | 1432 | 588 | £12,930.00 |
6 | Eton College | 1440 | 580 | £14,167.00 |
7 | Westminster School | 1541 | 479 | £13,869.00 |
8 | Bedford School | 1552 | 468 | £11,186.00 |
9 | Shrewsbury School | 1552 | 468 | £13,035.00 |
10 | Tonbridge School | 1553 | 467 | £14,035.00 |
11 | Rugby School | 1567 | 453 | £12,266.00 |
12 | Harrow School | 1572 | 448 | £14,200.00 |
13 | Dulwich College | 1619 | 401 | £14,782.00 |
14 | Sidcot School | 1699 | 321 | £9,950.00 |
15 | Warminster School | 1707 | 313 | £12,320.00 |
16 | St Edmund's School Canterbury | 1749 | 271 | £12,227.00 |
17 | Wellington School | 1837 | 183 | £11,330.00 |
18 | Rossall School | 1844 | 176 | £11,695.00 |
19 | St Lawrence College | 1879 | 141 | £12,303.00 |
20 | Wrekin College | 1880 | 140 | £11,700.00 |
21 | Stonar School | 1895 | 125 | £12,320.00 |
22 | Moreton Hall School | 1913 | 107 | £12,100.00 |
Note: ข้อมูลค่าเทอมจากปี 2020/2021 |
จากตัวอย่างพอสังเกตได้ว่าโรงเรียนที่มีอายุยาวนาน จะมีค่าเทอมเกาะกลุ่มในระดับบน ๆ อยู่ในเรทที่ 14,000 ต่อเทอมนั้นเองและถ้าไม่แพงมากจะเริ่มอยู่ราว ๆ 9,000 ปอนด์ต่อเทอม
โรงเรียนประจำอังกฤษที่มีชื่อเสียงมาก ๆ ส่วนใหญ่นั้นจะมีอายุมากว่าพันกว่าปีเลยทีเดียว รองลงมาก็จะร้อยกว่าปีซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงยุควิคตอเรียน ราว ๆ ปี ค.ศ 1800 หรือถ้าอายุน้อยกว่านั้นก็ราว ๆ สงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสอง ถ้ากลุ่มโรงเรียนใหม่ก็จะอยู่ในระหว่าง 10 กว่าปีขึ้นไป ซึ่งโดยทั่วไปแล้วโรงเรียนมีอายุเก่าแก่สร้างเอกลักษณ์ตัวตนที่ชัดเจนต่อระบบการศึกษาที่มียาวนานจากรุ่นสู่รุ่น จึงทำให้ได้รับความไว้ใจจากผู้ปกครองชาวอังกฤษเอง รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งของความภูมิใจของโรงเรียนด้วยเช่นกัน
โดยทั่วไปแล้วในเรื่องของมลพิษทางอากาศในอังกฤษถือว่าน้อยกว่าประเทศอื่น ๆ อยู่มากทีเดียว เป็นที่สังเกตว่าโรงเรียนประจำอังกฤษส่วนมากตั้งห่างไกลจากตัวเมือง มีเพียงไม่กี่โรงเรียนเท่านั้นที่อยู่ใจกลางเมือง ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในสถานที่ตั้งที่ค่อนข้างเขียว บรรยากาศสะอาดร่มรื่น หรือไม่ก็ตั้งห่างไกลไม่ตามเทือกเขา ชายฝั่งทะเลสวย ๆ
ชาวละตินเชื่อกันว่า a healthy mind in a healthy body ซึ่งก็คือหนึ่งในจุดประสงค์หลักของการศึกษาของอังกฤษ ชาวบริติชเองมีความกังวลอยู่มาก และเชื่อว่าเด็ก ๆ ควรเติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่ดี ดังนั้นนี้คือเหตุผลที่ว่าโรงเรียนประจำอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในชนบทที่สงบ และปลอดภัย บรรยากาศที่แวดล้อมไปด้วยต้นไม้เพื่อรับอากาศที่บริสุทธิ์สดชื่นนั่นเอง ถือเป็นเรื่องของด้านสภาพแวดล้อมที่ดี ที่ชาวอังกฤษยึดมั่นเป็นอันดับต้น ๆ
จุดสังเกตที่น่าสนใจอีกอย่าง จะเห็นว่าโรงเรียนในต่างจังหวัดแทบจะไม่มีประตูกำแพง ประตูรั้วหน้าโรงเรียนด้วยซ้ำ และไม่ต้องจ้างยามในการดูแลรักษาความปลอดภัยใด ก็ด้วยเหตุผลที่โรงเรียนประจำในอังกฤษนั้นอยู่ในความปลอดภัยที่สูง ก็เพราะสถานที่ตั้งที่อยู่ในที่ปลอดภัยนั้นเอง รวมถึงอัตราอาชกรรมก็ค่อนข้างต่ำ ซึ่งเราก็จะเห็นอยู่คุ้นตาว่านักเรียนที่อยู่ในโรงเรียนประจำนั้นจะใช้เวลาทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนกับการทำกิจกรรมไม่ว่าจะเดินป่า กีฬากันอยู่เสมอนั้นเอง
Medical care ในโรงเรียนประจำเป็นอย่างไร?
ในโรงเรียนประจำส่วนใหญ่นั้นจะมี Medical Centre หรือเรียกอีกอย่างว่า “San” ชื่อเต็มว่า Sanatorium ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่พยาบาลอยู่ โดยปรกติจะมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขไม่ว่าจะเป็น หมอ ที่จะนัดหมายเข้ามาโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ นักเรียนจะได้รับการลงทะเบียนกับแพทย์ ในการใช้บริการด้านนี้ อย่างน้อย ๆ พยาบาลที่อยู่ประจำก็จะสามารถดูแลให้คำแนะนำไม่ว่าจะเป็นด้านโภชนาการ สุขอนามัย ในกรณีที่เกิดเจ็บป่วยไม่สบาย จะมีการดูแลอย่างใกล้ชิดเบื้องต้นจากพยายาลในคลินิกของโรงเรียน แต่หากมีการเจ็บป่วยที่ร้ายแรง จะได้รับการส่งตัวไปโรงพบาบาลโดยมีเจ้าหน้าที่ของโรงเรียนดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งถือว่าเป็นการดูแลที่ค่อนข้างใกล้ชิดมาก พูดง่าย ๆ หากว่าเราอยู่ประเทศอังกฤษ การเข้าถึงสถานพยาบาลนั้นยากเย็น แต่หากการไปและได้รับการดูแลจากโรงเรียนโดยตรง ถือว่าเข้าถึงและรวดเร็วกว่าปรกติด้วยซ้ำ ดังนั้นผู้ปกครองไม่ต้องกังวลในเรื่องระบบการสาธารณสุขในโรงเรียนประจำเลย
3 เหตุผลหลักที่เป็นจุดแข็งของการเรียนโรงเรียนประจำอังกฤษ
ตามผลของการสำรวจผู้ปกครองและอาจารย์ในโรงเรียนประจำอังกฤษ มีสามเหตุผลหลักใหญ่ๆ ที่ว่ากันว่าเป็นจุดแข็งว่าทำไมโรงเรียนประจำอังกฤษถึงได้รับความไว้วางใจจากผู้ปกครอง
1. ห้องเรียนเล็ก 100% ทุ่มคะแนนไปที่ว่าโรงเรียนประจำนั้น มีจำนวนนักเรียนต่อห้องที่น้อย Small class size นี้คือสิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้โรงเรียนนั้นมีจุดแข็งและเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ปกครองและนักเรียน จากผลสำรวจ Independent School Council (ISC) ในปี 2013 แสดงผลว่าในโรงเรียนเอกชนประจำนั้นจะมีสัดส่วนนักเรียนและครูคือ 9 ต่อ 1 คือ คุณครูหนึ่งคนจะดูแลนักเรียน 9 คน ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างน่าประทับใจเลยทีเดียว ภาพรวมตัวเลขไม่ได้ชี้เฉพาะแต่ละคลาสชั้นปี แต่ประมาณว่านักเรียนในชั้นปี Year 9-11 จะมีนักเรียน 16-22 คน และ Year 12-13 จำนวนนักเรียนประมาณ 8-12 ซึ่งยิ่งโตจำนวนสัดส่วนนักเรียนจะน้อยลง เนื่องจากเด็กโตจะต้องเตรียมในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ซึ่งต้องมีการโฟกัสในแต่ละคนมากขึ้นนั้นเอง
ทำไมคลาสเล็กถึงดี? สืบเนื่องว่าครูสามารถใช้เวลาในแต่ละคนได้ดีกว่านั้นเอง ไม่ว่าจะเป็นจำชื่อนักเรียนทุกคนได้ และเรียนรู้ความสามารถของแต่ละคน อุปนิสัยใจคอ รวมถึงการตรวจทานการบ้านให้คะแนนและฟิตแบคกลับไปให้เหมาะในแต่ละคนได้อย่างมีคุณภาพนั้นเอง และเป็นการเรียนรู้ความสามารถของนักเรียนแต่ละคนได้อย่างใกล้ชิดเพื่อชี้นำให้เหมาะกับนักเรียนคนนั้นๆ ในแง่มุมของนักเรียนเอง หากได้เรียนห้องขนาดเล็ก นักเรียนสามารถโฟกัสได้มากขึ้น ว่ากันว่าห้องเล็ก ๆ นั้น การหลบหรือซ่อนสายตาครูนั้นเป็นไปได้ยาก อย่างน้อยนักเรียนสามารถที่จะมีการตอบโต้ ตอบคำถามได้ดีกว่า และแน่นอนจะงีบหลับก็คงเป็นไปได้ยากเช่นกัน ดังนั้นสิ่งแวดล้อมแบบนี้ทำให้นักเรียนได้รับแรงบันดาลใจได้มากกว่าและสามารถเรียนรู้ได้ดีกว่า
2. Integration with friendly British friends. หลายๆ ครอบครัวคงมีความเห็นเรื่องการได้มีสังคมและมีเพื่อนชาวอังกฤษในห้องเยอะ เพื่อที่ว่าบุตรจะได้ใช้ภาษาอังกฤษกับเจ้าของภาษา ซึ่งจริง ๆ นั้นก็ถูกต้อง แต่อย่างไรก็ดี ขั้นตอนในการรวมผสมผสานความกลมกลืนในสังคมอังกฤษนั้นไม่ได้เกิดขึ้นแบบทันทีทันใดและอัตโนมัติ ซึ่งผู้ปกครองต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านอื่น ๆ ของโรงเรียนนั้นด้วย เช่น
จำนวนตัวเลขของเชื้อชาติในโรงเรียนนั้น ๆ มีการจำกัดหรือไม่ ถ้าสมมติโรงเรียนนั้น ๆ มีแต่นักเรียนต่างชาติ หรือมีแต่ชาติใดชาติหนึ่งเยอะเกินไป เด็กจะได้ผลการเรียนรู้แบบเชิงลึกในวัตนธรรมอังกฤษหรือไม่? การรวมกันเป็นกลุ่มของนักเรียนที่สัดส่วนมากไป อาจจะทำให้พูดแต่ภาษาของตัวเองหรือไม่? ซึ่งโรงเรียนส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญตรงจุดนี้ว่าการมิกส์อัตราส่วนของแต่ละประเทศควรอยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสม ไม่มากไปในประเทศใด ประเทศหนึ่ง
เรื่องต่อมา เรื่องของ จำนวนนักเรียนที่อยู่ประจำนั้น มีนักเรียนอังกฤษอยู่หรือไม่ เพราะว่าบางโรงเรียนนักเรียนอังกฤษส่วนใหญ่ก็ไปกลับไม่ได้อยู่ประจำ ซึ่งนักเรียนประจำจะเป็นนักเรียนต่างชาติเสียส่วนใหญ่ นั้นก็อาจจะให้การ Integration ภายในโรงเรียนอาจจะน้อย หรืออย่างน้อยนักเรียนอังกฤษอาจจะอยู่ช่วงเสาร์อาทิตย์ที่โรงเรียน
พิจารณาเรื่องของอายุในการส่งลูกเรียนต่อ เด็กที่มีอายุน้อยแน่นอนว่าประสิทธิภาพในการรวมกลุ่มรวมสังคมนั้นไปได้ไวกว่าเด็กอายุในกลุ่มวัยรุ่น เด็กที่มีพื้นฐานภาษาอังกฤษจะไปได้ไวกว่า และเด็กที่ปรับตัวชอบเข้าสังคม กล้าแสดงออก ก็ย่อมปรับตัวได้ไวกว่าเด็กขี้อาย ดังนั้นผู้ปกครองควรคำนึงถึงจุดนี้ด้วยเช่นกัน
และสิ่งที่สำคัญต้น ๆ อีกเรื่องก็คือ ผู้ปกครองต้องเข้าใจระบบการศึกษาในอังกฤษหรือต่างประเทศว่า กิจกรรมนั้นมีความสำคัญมากพอๆ กับด้านวิชาการ ในระบบการเรียนต่างประเทศนักเรียนจะแนะนำให้เข้าร่วมทำกิจกรรมไม่ว่าจะเป็นกีฬา ดนตรี ศิลปะ หากผู้ปกครองโฟกัสแค่เพียงการเข้าเรียนแล้วหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมนอกห้องเรียน นั้นก็จะเป็นอุปสรรคให้การเรียนรู้การปรับตัวเข้าสังคมในอังกฤษนั้นยากขึ้นด้วยเช่นกัน คำแนะนำคือการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ในโรงเรียน ทำให้เด็กได้เปิดใจรับสิ่งใหม่ เวลาที่เด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกัน สิ่งสำคัญที่เด็กจะได้รับก็คือ เมื่อเค้าได้ทำอะไรบางอย่างร่วมกันใช้เวลาด้วยกัน เล่นด้วยกัน เด็กจะเปิดใจกว้างมากขึ้น ได้เพื่อนใหม่ ๆ และมีความเห็นอกเห็นใจกันมากขึ้น
นอกจากนี้ส่วนใหญ่ Houseparent ก็จะแต่งตั้งนักเรียนที่ดูแล้วมีภาวะผู้นำ หรือระดับซีเนียร์ในการช่วยเป็นหูเป็นตา ดูแลรับผิดชอบนักเรียนในที่พัก เช่นดูแลและคอยต้อนรับนักเรียนใหม่ ๆ ที่เข้ามาเรียน บางคนอาจจะเกิด Homesick ครูอาจจะมอบหมายให้รุ่นพี่มาช่วยดูแล พาไปทัวร์ หรือแนะนำโรงเรียนเพื่อให้มีความคุ้นเคยด้วยเช่นกัน การมีบัดดี้ในสังคมอังกฤษระหว่างที่อยู่โรงเรียนประจำถือว่าเป็นหน่วยเล็ก ๆ ที่สำคัญอีกด้วยเช่นกัน และนี้ก็เป็นเสน่ห์ของการเรียนอยู่ในโรงเรียนประจำ
วิธีการสอนในห้องเรียนอังกฤษ Teaching Method
โดยปรกติแล้วมีรูปแบบการเรียนการสอนอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน
อย่างแรก ถ้าคุณต้องการที่จะจดจำอะไรสักอย่าง ครูก็แค่บอกปัญหา และหาคำตอบให้ และนักเรียนก็จดตามและก็เรียนรู้ในสิ่งที่จดลง เราเรียกประเภทการเรียนแบบนี้ว่การท่องจำ rote-learning (โรท เลิร์นนิ่ง) หรือ ครูบอกให้นักเรียนได้คิดถึงปัญหา และให้นักเรียนเดาคำตอบซึ่งอาจจะใช้เวลามากกว่าอย่างแรก แต่สุดท้ายครูผู้สอนจะพยายามช่วยและชี้นำไปสู่การแก้ปัญหา ซึ่งเรียกการเรียนแบบนี้ว่า heuristic learning (ฮิวริสติค) ซึ่งอย่างที่สองนี้เป็นรูปแบบนี้ใช้กันส่วนใหญ่ในระบบการศึกษาอังกฤษ ซึ่งเบื้องหลังของทฤษฎีนี้ก็คือว่านักเรียนจะพยายามหาคำตอบให้กับตัวเอง ซึ่งกระบวนการระหว่างนี้จะทำให้เข้าใจได้ดีกว่าและจำได้ดีกว่าอย่างแรก ซึ่งในบางประเทศที่มีวิธีการสอบแบบดั่งเดิมจะใช้วิธีการแรก สังเกตง่าย ๆ ว่าถ้าเราเดินผ่านห้องเรียนในแบบแรก เราก็จะได้ยินแต่เสียงของครูอาจารย์ผู้สอน หรือครูผู้สอนก็ถือไมโครโฟนเนื่องจากจำนวนนักเรียนในชั้นเรียนนั้นค่อนข้างใหญ่ และมีนักเรียนที่เยอะ หรือครูคือผู้ที่มีความรู้ควาเชี่ยวชาญหรือถือองค์ความรู้และไม่ควรถูกตั้งคำถาม นักเรียนนั่งเงียบ เพียงแค่จด และท่องจำ และทำข้อสอบ
แต่ในโรงเรียนประจำอังกฤษนั้นไม่ใช่แบบนั้น ในทางตรงกันข้ามถ้าหากเดินผ่านห้องเรียน เราจะได้ยินเสียงของนักเรียน นักเรียนจะตั้งคำถาม เห็นด้วยไม่เห็นด้วยต่อคุณครูในชั้น จริงๆ ครูก็ยังเป็นผู้เชี่ยวชาญให้ความรู้เรื่องนั้น แต่การปฏิบัติจะเป็นไปลักษณะการไกด์ มากกว่าเป็น แลคเชอร์ ซึ่งคุณครูจะถามนักเรียนเพื่อนำความรู้หรือการทดสอบในเรื่องราวนั้นๆ ดังนั้นเมื่อนักเรียนได้เข้าห้องเรียนในระบบอังกฤษ ก็จะเรียนรู้วิธีการ ในการตั้งคำถาม วิเคราะห์ และพัฒนาทักษะการสื่อสาร อธิบายไอเดียต่าง ๆ ได้ ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานในการเรียนในระบบบริติชนั้นเอง
แบคกราว์ทางศาสนาในโรงเรียน
มีหลาย ๆ ครอบครัวเห็นภาพของโรงเรียนประจำอังกฤษนั้น มักอยู่โบสถ์ วิหาร หลายคนก็ตั้งคำถามในใจว่าจะทำให้ลูกนั้นเปลี่ยนศาสนาหรือไม่ คำตอบก็เหมือนกับที่เมืองไทยที่เราส่งลูก ๆ เรียนในโรงเรียนในเครือคาทอลิคต่าง ๆ จริงอยู่โรงเรียนส่วนใหญ่ในอังกฤษนั้นมีแบคกราวน์เกี่ยวข้องกับทางคริสเตียนอยู่เยอะมาก เกือบกว่า 50 โรงเรียนในอังกฤษจะมีตัวย่อ St (ย่อมากจาก Saint of the Christian Church) ในชื่อโรงเรียน ซึ่งโรงเรียนเหล่านั้นจะมีภูมิหลังไม่ถูกค้นพบโดยกลุ่มนักบวชก็เพื่อต้องการยังรักษาคงไว้เพื่อชาวคริสเตียน ซึ่งส่วนใหญ่จะได้รับอิทธิพลมาจาก โรมันคาทอลิค นิกายแองลิกัน ผู้ที่นับถือลัทธิเมธอดิส เป็นต้น
ซึ่งปัจจุบันนี้ความเคร่งครัดทางด้านนี้ก็ลดลง ส่วนใหญ่โรงเรียนปัจจุบันก็ต้อบรับนักเรียนทุก ๆ ศาสนา ไม่ได้จำกัดอะไร แต่อย่างไรก็ตาม นักเรียนทุก ๆ คนจะมีส่วนรวมพิธีทางศาสนา เช่น การร้องเพลงในโบสถ์ ตามเทศกาลต่าง ๆ แต่การมีส่วนรวมถือว่าเป็นกิจกรรมที่ผู้ปกครองไม่ต้องกังวลว่าโรงเรียนจะบังคับให้เข้านับถือศาสนา หรือเปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์ เป็นต้น ถึงแม้เราจะเห็นว่าความเคร่งครัดนั้นน้อยลง เราก็ยังเห็นชาวอังกฤษไปโบสถ์เป็นประจำ ซึ่งนั้นก็ถือว่าเป็นวิธีชีวิต ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมที่ยังมีคุณค่าทางจิตใจ และอย่างน้อยนักเรียนก็ยังได้เรียนรู้วิถีชีวิตชาวคริสเตียนไปด้วยถึงแม้ว่าเราจะมาจากต่างศาสนาก็ตาม
และนี้ก็ยังเป็นเหตุผลเชื่อมโยงไปว่า เราจะเห็นยูนิฟอร์มนักเรียนนั้นมีเอกลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็นกระโปรงยาว ๆ การที่นักเรียนยังใส่หมวกนักเรียน ซึ่งชุดนักเรียนก็มีความเชื่อมโยงมาแต่โบราณทางประวัติศาสตร์ของโรงเรียนนั้นเช่นกัน
ในปัจจุบันนักเรียนในโรงเรียนประจำอังกฤษก็ยังใส่ยูนิฟอร์มไปโรงเรียน ซึ่งก็ถือว่ามีความเป็นเอกลักษณ์และมีเสน่ห์ของแต่ละโรงเรียน เราก็จะเห็นกันคุ้นตาว่าจะมีโลโก้ของโรงเรียนติดอยู่ ทั้งหมวก เสื้อ ถุงเท้าก็ยังมีตราสัญลักษณ์ หรือนักเรียนโรงเรียนประจำที่อยู่บอรด์ดิ้ง ก็จะมีชื่อเรียกบ้านพัก มีตราสัญลักษณ์ต่าง ๆ บ่งบอกว่าพักอยู่หลังไหนเป็นต้น คล้าย ๆ กับที่เราเห็นในภาพยนตร์แฮรรี่พอตเตอร์ อาจจะนึกภาพออกได้ง่ายขึ้นนั้นเองครับ
วิชากิจกรรมเสริมในโรงเรียนประจำอังกฤษที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์
Young Enterprise โดยปกติโรงเรียนประจำอังกฤษจะมีกิจกรรมพิเศษต่าง ๆ มากมายและหนึ่งในโปรแกรมที่น่าสนใจและจะเห็นในคู่มือของโรงเรียนส่วนใหญ่คือ Young Enterprise ซึ่งมีช่วงนักเรียนเรียนใน Year 12 เป็นโปรแกรมที่สนับสนุนให้ความรู้กับนักเรียนในการทำธุรกิจและเป็นแรงบันดาลใจให้นักเรียนได้เป็นเจ้าของกิจการธุรกิจนั้นเอง
นักเรียนจะเรียนกันเป็นกลุ่มทำงานร่วมกัน ในการสร้างบริษัทจำลองสักหนึ่งบริษัท ซึ่งครูจากโรงเรียนและบริษัทต่าง ๆ ก็จะมาให้คำแนะนำกับนักเรียน โปรแกรมก็จะทำเหมือนจริงทุกอย่าง ไม่ว่าจะการกำหนดบทบาทนักเรียนเป็นผู้จัดการ เจ้าของกิจการ เป็นนักการตลาด เป็นต้น มีการขายสินค้าจริง ๆ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่จะช่วยให้นักเรียนได้ประสบการณ์จริงในการทำธุรกิจต่าง ๆ จากการวิจัยค้นพบว่านักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมนี้ มีนักเรียนเกือบสองเท่าก็กว่าได้ที่สามารถเปิดกิจการธุรกิจของตัวเองหลังเรียนจบ
The Combined Cadet Force (CCF) มีสถิติมากกว่า 200 โรงเรียนประจำอังกฤษที่มีอายุระหว่าง 13-18 ได้มีโอกาสเข้าร่วมโปรแกรม CCF ขอพูดให้เข้าใจง่ายๆ แบบไทยคือ เหมือนการเรียน ร.ด. นั่นเอง
แต่กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมพิเศษไม่ได้บังคับในโรงเรียน เป็นกิจกรรมตัวเลือกที่นักเรียนสามารถเลือกเรียนได้ CCF ซึ่งเป็นพาร์ทเนอร์กับโรงเรียนและกระทรวงกลาโหมของอังกฤษ ซึ่งกิจกรรมที่สอนนักเรียน เช่น การยิงปืน ทำปฐมพยาบาลเบื้องต้น การผจญภัย ภาวะความเป็นผู้นำ ซึ่งโปรแกรมนี้นักเรียนนี้นักเรียนจะเรียนช่วงกลางวันสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง ซึ่งนักเรียนก็จะได้ใส่ชุดทหารเหมือนจริงเลยทีเดียว หรือบางครั้งก็จะไปร่วมกับ ทหารเรือ เรียนรู้การพายเรือหรือ ร่วมกับทหารอากาศก็เรียนรู้ด้านการบินต่าง ๆ ซึ่งจัดว่าเป็นกิจกรรมที่นักเรียนไทยควรเข้าร่วมอย่างมาก ถือเป็นประสบการณ์ที่เยี่ยมยอดเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นนักเรียนหญิงหรือชายก็เข้าร่วมโปรแกรมนี้ได้ แต่หากนักเรียนไม่สนใจด้านนี้โรงเรียนก็จัดเข้าไปร่วมกิจกรรมด้านอื่น ๆ ในโรงเรียนได้เช่นกัน
The Duke of Edinburgh s Award (The D of E)
The Duke of Edinburgh เป็นสามีของพระราชินีควีนอลิซเบธที่สอง ในช่วงค.ศ 1956 พระองค์ได้คิดโปรแกรมสำหรับเยาวชน ซึ่งมีแรงบันดาลใจมาจากบุคคลที่มีชื่อเสียงในวงการการศึกษาอย่าง Kurt Hahn. โปรแกรมนี้เรียกมีที่มาว่า the D of E ซึ่งเป็นโปรแกรมที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในโรงเรียนประจำอังกฤษ ซึ่งโปรแกรมนี้จะมีรางวัลสามระดับคือ บอนซ์ ซิลเวอร์ และ โกลด์ ไม่ได้เป็นการแข่งขันใด ๆ แต่นักเรียนทุกคนสามารถประสบความสำเร็จถ้าจบหลักสูตรตามเงื่อนไข โปรแกรมนี้กิจกรรมนอกห้องเรียน และในช่วงปิดเทอม ประกอบไปด้วย
- การเป็นจิตอาสา : ในการช่วยเหลือสังคม
- Physical : การเรียนรู้สิ่งใหม่ด้านกีฬา หรือ ทำให้ร่างกายแข็งแรง
- ทักษะ : พัฒนาทักษะทางสังคม และด้านอื่น
- การเดินทาง: การเทรนนิ่งสำหรับการแข่งขันการเดินทางผจญภัยต่าง ๆ
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมนี้จะต้องทำให้ครบทั้งหมดสี่กิจกรรม ซึ่งแล้วแต่ว่าอยากทำอะไรในแต่ละอย่าง ว่ากันว่ามีนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมนี้ไม่ต่ำกว่า 30000 คนต่อปีซึ่งทำให้นักเรียนได้เสริมทักษะในด้านอื่นๆ นอกจากวิชาการในห้องเรียนเลยทีเดียว สิ่งที่นักเรียนได้รับคือ ภาวการณ์เป็นผู้นำ การสื่อสาร และการตัดสินใจที่เป็นทักษะแบบ Soft Skills ที่นักเรียนเตรียมพร้อมสู่ระดับสูงในการทำงานหรือเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยต่อไป
โรงเรียนประจำอังกฤษหลายโรงเรียนมีประวัติศาสตร์เชื่อมโยงกับราชวงศ์
หลาย ๆ คนทั่วโลกให้ความสนใจเกี่ยวกับราชวงศ์อังกฤษ ซึ่งถือเป็นโครงสร้างหลักสำคัญอย่างหนึ่งในสังคมของอังกฤษ เราจะสังเกตเห็นว่าในโรงเรียนประจำอังกฤษนั้น มักจะมีคำเช่น Royal, King หรือ Queen สาเหตุคือเพราะโรงเรียนเหล่านั้นจะมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานในสมัยก่อน ส่วนใหญ่ก็จะเกินร้อย ๆ ปี เพื่อเป็นการรำลึกถึงกษัตริย์ ในยุคก่อน หรือต้นกำเนิดมีราชวงศ์การจัดตั้ง จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นโรงเรียนอังกฤษนั้นมีประวัติเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกันหรือความสัมพันธ์ในสมาชิกราชวงค์ หรือที่เห็นได้ชัด ก็จะเห็นลูกหลานในราชวงศ์นั้นเป็นนักเรียนหรือศิษย์เก่าที่เคยเล่าเรียนในโรงเรียนนั้น ๆ เช่นกัน หรือในบางครั้งสมาชิกก็จะเข้ามาดูแลเป็น โรงเรียนอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งสมาชิกราชวงศ์ก็จะเข้ามาเยี่ยมเยียนโรงเรียนนั้น ๆ ในพิธีสำคัญต่าง ๆ เช่น การเปิดงานประเพณีต่าง
มีโรงเรียนเอกชนทั่วอังกฤษอยู่ประมาณ 9 โรงเรียนที่จะมีคำว่า “Royal” อยู่ในชื่อของโรงเรียน เช่น Royal Russell School, The Royal School
Photo: Royal Russell School
Photo: Royal Russell School
หรือมีคำว่า “King” ในชื่อ 11 โรงเรียน เช่น The King ‘s School และ King’s College School เป็นต้น
มี 7 โรงเรียนที่มีคำว่า “Queen” ในชื่อโรงเรียน เช่น Queen’s College ,London เป็นต้น
หากเปิดเข้าไปดูประวัติของโรงเรียนเราจะเห็นความเชื่อมโยง และเป็นสิ่งที่โรงเรียนหลาย ๆ จะมีความภูมิใจ และให้เกียรติกับประวัติศาสตร์ในจัดตั้งโรงเรียนนั้น การเห็นภาพเก่าแก่ประวัติศาสตร์ในส่วนของ About us ในเว๊ปไซต์ของโรงเรียน ซึ่งก็จะเป็นที่เล่าติดปากกันว่า ลูกหลานที่ได้เรียนในยุค ๆ หนึ่ง อาจจะเคยมีเพื่อนร่วมชั้นเรียนเป็นลูกหลานราชวงศ์อังกฤษ เป็นต้น
จริงหรือที่ว่าความเชื่อ โรงเรียนชายล้วน หญิงล้วน ว่ามีความพิเศษมากกว่า โรงเรียนสหศึกษา
โรงเรียนส่วนใหญ่ในอังกฤษนั้นเป็นสหศึกษา แต่อย่างไรก็ดีในรายงานของ ISC รายงานว่าจำนวนโรงเรียนเอกชนในปี 2013 มี
โรงเรียน และในจำนวน 150 โรงเรียนหญิงล้วน และ 100 โรงเรียนเป็นโรงเรียนชายล้วน
ยังเป็นข้อถกเถียงว่าเรียนแบบไหนดีกว่ายังไง เอาเป็นว่าสรุปใจความสั้น ๆ สำหรับผู้ที่เชื่อว่าการเรียนโรงเรียนแบบชายล้วนหญิงล้วนนั้น มีความเชื่อที่ว่าจะได้รับการสอนที่เต็มที่มากกว่า รวมถึงกิจกรรมนอกห้องเรียนที่จะทำให้เฉพาะเจาะจงโดยไม่มีข้อจำกัด หรือไม่ได้รับการรบกวน ส่วนคนที่ชอบการเรียนแบบสหศึกษา มีความเชื่อว่าในชีวิตจริง ๆแล้วนั้น คนเรามันต้องอาศัยอยู่ร่วมกันที่หลากหลาย และควรเรียนรู้ร่วมกันได้ทุกเพศ
ซึ่งข้อถกเถียงนี้เป็นแค่อย่างย่อ ๆ เท่านั้น ดังนั้นหากผู้ปกครองเห็นโรงเรียนเอกชนในอังกฤษ ทำไมถึงมีการแบ่งชายล้วน หญิงล้วนให้ศึกษาเพิ่มเติมในเว๊ปไซท์ของโรงเรียนนั้น ๆ ถึงประวัติศาสตร์ ทฤษฎีต่าง ๆ ในการศึกษาของโรงเรียนนั้น ๆ แต่ก็จะมีเรื่องจริงบางส่วนที่ว่า โรงเรียนดัง ๆ แบบ Elite group ที่ไม่ได้เป็นแบบสหศึกษา จะเป็นกลุ่มโรงเรียนมีชื่อเสียงทั้งด้านวิชาการและกิจกรรม ถึงแม้หลาย ๆ ครอบครัวต่างชาติจะมองว่าเป็นเรื่องแปลก แต่เพียงเพราะว่าประเทศของเรานั้นไม่ได้แบ่งแยกระบบการศึกษาแบบชายล้วน หญิงล้วนนั้นเอง ซึ่งแท้จริงแล้วก็ต้องไปศึกษาประวัติของโรงเรียนนั้น ๆ ด้วยเช่นกัน เพราะว่ามีเกือบถึง 21% ที่เป็นโรงเรียนแบบแยก หญิงล้วน ชายล้วนในอังกฤษนั้นเอง
ทำไมราคาโรงเรียนประจำอังกฤษบางที่ถึงแพงมาก มีสาเหตุจากปัจจัยใดบ้าง?
การส่งบุตรหลานเรียนต่อมัธยมประจำอังกฤษต้องบอกก่อนว่าแน่นอนว่าไม่ถูกเลย หากส่งบุตรหลานเรียนต่อระดับมัธยมนึกอยู่ในใจว่านักเรียนต้องเรียน 3 เทอม ค่าเทอมตกเทอมเริ่มจาก 4 แสน ถึง 6 แสนขึ้นไป แต่สำคัญที่เราอยากบอกก็คือว่า ราคาโรงเรียนที่แพงไม่ได้หมายความว่าจะดีกว่าโรงเรียนที่ถูกกว่านะครับ ปัจจัยของเหตุผลคือ
- โรงเรียน A ตั้งอยู่ในเขตใกล้เมืองใหญ่ ภายในเมืองนั้นมีประชากรถึง 2 ล้านคน และมีผู้คนที่มีความมั่งคั่งร่ำรวยอาศัยอยู่ ดังนั้นโรงเรียน A จึงเป็นที่ต้องการสำหรับคนในเมืองนั้นอย่างสูง ทำให้โรงเรียน A สามารถเพิ่มราคาค่าเทอมได้อย่างต่อเนื่องนั้นเอง ในขณะที่ โรงเรียน B ตั้งไกลออกไป อยู่ชานเมืองเล็ก ๆ อาจจะมีประชากรอาศัยอยู่เพียงแค่ 20,000 คน ประชากรอาจจะไม่ได้มั่งคั่งร่ำรวยอะไร ด้วยเหตุผลนี้ โรงเรียนจึงมีความจำเป็นต้องรักษาค่าเทอมไว้เพื่อให้คนท้องถิ่นในเมืองนั้นได้ส่งบุตรหลานเข้าเรียนได้ด้วยเช่นกัน
- ‼️อย่าลืมว่า ผลการเรียนของนักเรียนทั้งสองที่มีความเหมือนกันได้เช่นกัน เรียนได้ดีเหมือนกัน ด้วยเหตุผลหลักที่ว่า ชาวอังกฤษที่แท้จริงนั้นความฝันของพวกเค้าคือการได้ออกจากเมืองหลวง และอาศัยอยู่ต่างจังหวัดที่สวยงาม บ้านราคาถูกกว่า สังคมดีกว่า บรรยากาศดีกว่า ดังนั้น ครูหลาย ๆ คนนิยมที่จะทำงานในต่างจังหวัดและอยู่กับครอบครัวหลีกหนีจากความวุ่นวาย
- ด้วยเหตุผลนี้ จึงเป็นปัจจัยให้โรงเรียนในต่างจังหวัดสามารถดึงดูดครูเก่ง ๆ ให้มาสอนที่โรงเรียนได้ไม่ว่าจะโรงเรียนแพงหรือไม่แพง เราจึงเห็นคนอังกฤษแท้จริงมีการศึกษาดี ๆ อยู่ตาม Countryside เยอะมาก ๆ